เจ้าของกิจการจะขอสินเชื่อส่วนบุคคลจากธนาคารได้ด้วยวิธีใดบ้าง

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

 

      สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการที่มีรายได้หลักมาจากธุรกิจของตัวเองบางครั้งอาจจะมีปัญหาในการแบ่งแยกและบริหารจัดการทางด้านการเงินระหว่างส่วนตัวกับธุรกิจจนทำให้เกิดความสับสนตามมา เรามาดูกันว่าเราจะมีการบริหารจัดการการเงินอย่างไรให้มีความลงตัวมากที่สุดและสามารถขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้

หนึ่ง..ให้รายได้กับตัวเองในรูปแบบของเงินเดือน 

     การจัดสรรรายได้ของกิจการบางส่วนมาแบ่งให้กับตัวเองในรูปแบบของรายได้ประจำมีข้อดีคือสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในรูปแบบเดียวกับพนักงานประจำทั่วไปได้ เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน 

     เนื่องมาจากวิธีการปล่อยสินเชื่อรายย่อยทั่วไปของธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับรูปแบบรายได้ที่มีความมั่นคงแน่นอนมากกว่า แม้ว่ารายได้จะน้อยกว่าการเป็นเจ้าของกิจการแต่สถาบันการเงินจะให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องมากกว่าจำนวน

     การให้เงินเดือนกับตัวเองยังเป็นวิธีการแยกแยะรายได้ส่วนตัวกับรายได้ของกิจการออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้ไม่เกิดความสับสนในการจัดการบัญชี โดยเจ้าของกิจการจะต้องประเมินรายได้ขั้นต่ำที่เกิดขึ้นต่อเดือนและนำมาประเมินต่อเป็นเงินเดือนของตัวเองที่จะต้องเพียงพอต่อการใช้ชีวิต การเก็บออมและลงทุน

สอง..นำรายได้ของกิจการมาเป็นทรัพย์สินของตัวเอง 

     วิธีการแบบนี้ใช้ได้กับกิจการที่มีเจ้าของคนเดียวเบ็ดเสร็จหรือผู้ถือใหญ่เพียงรายเดียว เพราะหากเลือกใช้วิธีนี้เวลาที่ไปขอสินเชื่อบุคคลกับทางธนาคาร สถาบันการเงินจะคำนวนรายได้ของกิจการต่อเดือนจากนั้นนำมาหารเฉลี่ยด้วยสัดส่วนของหุ้นสามัญที่ถืออยู่ในกิจการ

     ตัวอย่างเช่น นาย ก มีการถือหุ้น 97% ในกิจการที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 100 บาท สถาบันการเงินจะประเมินว่านาย ก มีรายได้ต่อเดือนที่ 97 บาท เพื่อนำไปใช้ในการประเมินเครดิตในการให้สินเชื่อ 

     อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่ธนาคารจะนำมาคิดคำนวณด้วยก็คือประเภทของธุรกิจที่เจ้าของกิจการนั้นๆ ดำเนินอยู่ เช่นถ้าเป็นกิจการที่มีความเสี่ยงสูงและเป็นธุรกิจที่กำลังมีปัญหา จะมีค่าสัมประสิทธิ์ในการคำนวณเครดิตที่ลดลง

สาม...ใช้ทรัพย์สินของกิจการเป็นวงเงินค้ำประกัน 

     วิธีนี้เหมาะสมกับเจ้าของกิจการที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คนเดียวเช่นกันเพื่อที่จะไม่เกิดปัญหาในการนำทรัพย์สินของกิจการนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขอสินเชื่อ โดยทรัพย์สินที่สามารถนำไปใช้ค้ำประกันกับทางธนาคารได้มีตั้งแต่สถานประกอบการ โรงงาน อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำธุรกิจ

     อย่างไรก็ตามการนำทรัพย์สินของกิจการนำไปใช้ขอสินเชื่อกับธนาคารอาจจะจำกัดเฉพาะสถาบันการเงินบางแห่งเท่านั้นที่มีบริการหรือสินเชื่อประเภทนี้ให้บริการ เนื่องจากอาจจะเกิดความสับสนกับสินเชื่อธุรกิจได้ วงเงินที่สามารถขอได้จึงไม่สูงมากนักและอัตราดอกเบี้ยก็จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าสินเชื่อปกติ แต่วิธีการนี้ก็จะเป็นการแยกส่วนของเงินระหว่างของธุรกิจกับเจ้าของออกจากกัน

     ความมั่งคั่งของเจ้าของกิจการก็คือความมั่งคั่งของธุรกิจด้วยเช่นกัน หากสามารถสร้างกิจการให้เติบโตได้ การเข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงินก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างไร

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​