รับชำระเงินด้วยคริปโต มีความเสี่ยงจริงหรือไม่??

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

 

     จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกจดหมายแสดงความคิดเห็นว่าไม่สนับสนุนที่จะให้ภาคธุรกิจรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสกุลเงินดิจิทัลหรือ Cryptocurrency หลังช่วงที่ผ่านมาภาคธุรกิจต่างตื่นตัวในประเด็นนี้กันอย่างมาก โดยให้เหตุผลว่ามีความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน อาชญากรรมทางไซเบอร์และข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล

     ความจริงแล้วการที่ภาคธุรกิจออกมารับสกุลเงินดิจิทัลในการชำระค่าสินค้าและบริการถือว่าเป็นความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยว่ามาหรือไม่??

     คำตอบคือหากมีการใช้บริการศูนย์กลางซื้อขายหรือ Exchange ที่ได้รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการคลังและ ก.ล.ต. ปัญหาดังกล่วจะไม่เกิดขึ้นหรือมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิด

     เหตุผลคือ Exchange ที่อยู่ภายใต้กฎหมายไทยจะต้องส่งข้อมูลของลูกค้าไปยัง ป.ป.ง. เพื่อป้องกันการที่จะใช้ช่องทางดังกล่าวในการฟอกเงิน นอกจากนี้ยังต้องได้รับการตรวจสอบมาตราฐานทางด้านเทคโนโลยีว่ามีระบบรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือหรือไม่ รวมถึงการที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน เท่ากับว่าปัญหาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกังวลไม่น่าที่จะเกิดขึ้น

     แต่ถ้าหากร้านค้าหรือลูกค้าไปใช้บริการ Wallet หรือ Exchange ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตหรือผ่านการตรวจสอบจาก ก.ล.ต. ความเสี่ยงในเรื่องของการโจรกรรมทางไซเบอร์ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดจนถึงการนำไปใช้เป็นแหล่งของการฟอกเงินและความเสี่ยงที่ข้อมูลของลูกค้าจะรั่วไหล

     สำหรับประเด็นที่ราคาของ Cryptocurrency มีความผันผวนสูงซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจได้รับผลกระทบจากการที่รับชำระด้วยคริปโต ประเด็นนี้แก้ไขได้โดยการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันที่ Exchange จะเป็นผู้รับแลกเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนจาก Cryptocurrency ให้เป็นสกุลเงินบาทได้โดยทันทีเมื่อเกิดการชำระ เท่ากับว่าผู้ประกอบธุรกิจได้รับชำระค่าสินค้าและบริการมาเก็บในรูปแบบเงินบาทซึ่งไม่มีความเสี่ยง

     แต่ผู้ประกอบธุรกิจก็สามารถที่จะเลือกเก็บ Cryptocurrency ดังกล่าวไว้ใน Wallet ได้เช่นกันโดยดูจังหวะที่ราคามีความเหมาะสมค่อยแปลงกลับมาเป็นสกุลเงินบาทได้ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงหากราคา Cryptocurrency ที่เก็บไว้มีมูลค่าลดลง อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในเรื่องของการจัดการบัญชีและความเสี่ยงของราคาก็ควรจะเลือกแปลงเป็นเงินบาทไว้ทันทีจะดีกว่า

     ในมุมของผู้ใช้งานจริงแล้ว Cryptocurrency ไม่ได้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการนำมาใช้แทนเงิน Fiat Currency แต่อย่างไรเนื่องจากราคาที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยคุณสมบัติของ Cryptocurrency โดยเฉพาะ Bitcoin ถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบของ Store Of Value หรือแหล่งสะสมความมั่งคั่งเช่นเดียวกับทองคำ

     โดยผู้ที่ถือครอง Bitcoin สามารถแบ่งบางส่วนมาใช้ในการจับจ่ายซื้อของในชีวิตประจำวันได้ถ้าหากร้านค้านั้นๆเปิดรับ ไม่ได้หมายความว่าเก็บ Cryptocurrency นั้นๆ ไว้เพื่อจุดประสงค์ในการนำมาใช้จ่ายแทนเงินโดยตรง

     กระแสของเทคโนโลยีโดยเฉพาะสังคมไร้เงินสดกำลังเข้ามาในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจควรต้องศึกษาช่องทางดังกล่าวไว้เป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าที่มีความเข้าใจใน Cryptocurrency และรับความเสี่ยงได้

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน