เอาสินค้าไปขายในเซเว่นยังไงไม่ให้โดนปฏิเสธ พร้อมเทคนิคดีๆ จาก SME ที่สร้างธุรกิจโตในโมเดิร์นเทรด

 

     

     เชื่อว่า SME หลายคนที่ผลิตสินค้ามาแล้วหนึ่งในสถานที่ที่อยากจะนำไปของไปขายคือ เซเว่น อีเลฟเว่น เพราะนั่นคือโอกาสในการทำเงินอย่างมหาศาล

ทำไม เซเว่น ถึงเป็นหมุดหมายในฝันของ SME

     ก่อนที่จะไปดูวิธีนำสินค้าไปขายในเซเว่น หลายคนอยากรู้ว่าเซเว่นมีข้อดีอะไรถึงดึงดูดให้เหล่า SME ต้องการนำสินค้าไปขาย มีการคาดการณ์ว่าระหว่างปี 2564 - 2566  ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ หรือ Modern Trade ในประเทศไทย มีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วเฉลี่ย 1.5-2.5% โดยปัจจัยหนึ่งมาจากการที่สามารถตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการผู้บริโภคยุคใหม่ได้อย่างตรงจุดเพราะกระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ มีความหลากหลายของสินค้าและผลิตภัณฑ์ จึงตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคใหม่ ที่ต้องการความสะดวกสบายภายใต้ภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

     ยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า ปัจจุบันเซเว่นมีจำนวนสาขาในประเทศมากถึง 13, 283 สาขา โดยเฉลี่ยในแต่ละสาขามีลูกค้าเข้าร้าน 1,000 คนต่อวัน ฉะนั้นวันหนึ่งมีลูกค้าประมาณ 13 ล้านคน และโดยเฉลี่ยคนหนึ่งซื้อสินค้าครั้งละประมาณ 3 ชิ้น ทำให้มีการซื้อขายสินค้าผ่านเซเว่นประมาณ 40 ล้านชิ้นต่อวัน

สินค้าที่ขายในเซเว่นมีอะไรบ้าง

     ก่อนที่ผู้ประกอบการจะเอาสินค้าไปขายในเซเว่นก็ต้องรู้ก่อนว่า เอาของมาขายในเซเว่น ต้องรู้ว่าเซเว่นขายอะไรบ้าง โดยสินค้าที่ขายในเซเว่นแบ่งได้เป็น

 Non Food

  • ของใช้ส่วนตัว
  • ของใช้ในครัวเรือน
  • บุหรี่

 

Ready to eat (frozen & chilled)

  • อาหารหลัก
  • อาหารรองท้อง
  • ฟาสต์ฟูด
  • ขนมปัง นมสด

 

Dry Grocery

  • อาหารแห้งและเครื่องปรุงรส
  • ขนม

 

Beverage & Ice cream

  • แอลกอฮอล์
  • ซอฟต์ดริ๊งค์
  • ไอศกรีม

 

วิธีการเตรียมตัวก่อนนำสินค้าไปขาย

สิ่งแรกต้องเตรียมสินค้าให้พร้อม ทั้งเรื่องคุณภาพ มาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐานาอาหารหรือ อย.  เครื่องหมายรับรองมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือ มอก.

  • นำเสนอสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.cpall.co.th

เมื่อเตรียมสินค้าเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปก็เพียงแค่ ลงทะเบียนเพื่อนำข้อมูลต่างๆ ของสินค้าไปกรอกให้ครบถ้วนในเว็บไซต์ โดยการตรวจสอบเบื้องต้นของทางบริษัท จะดูจากความน่าสนใจของสินค้าเป็น หลักรวมถึงความเป็นไปได้ที่จะนำมาวางขายซึ่งจะต้องไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ของบริษัท จากนั้นถึงจะมีการสรุปว่าสินค้าที่พิจารณาผ่านความเห็นชอบในรอบแรกหรือไม่

  • นัดหมายพรีเซนต์

หากผ่านการพิจาณรณาดังกล่าว ขั้นต่อไป เจ้าหน้าที่ของบริษัทจะดำเนินการนัดหมายเพื่อมานำเสนอรายละเอียดสินค้า ตลอดจนแผนการตลาดสนับสนุนสินค้าดังกล่าว หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะจัดทำข้อมูลและนำเสนอแก่คณะกรรมการคัดเลือกสินค้าของบริษัทเพื่อร่วมพิจารณาตามหลัก เกณฑ์สำคัญๆ อาทิ แนวโน้มและทิศทางของการตลาด กลุ่มลูกค้า รวมถึงโอกาสเติบโตในอนาคต

  • ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าพิจารณามาตรฐานโรงงานกระบวนการผลิต

สำหรับผู้ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและโรงงานการผลิตรวมถึงกระบวนการผลิตที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของกฏหมายที่ระบุไว้มีความปลอดภัยและถูกหลักอาชีวอนามัย ตลอดจนคำนึงถึงสภาพแวดล้อม

  • พิจารณาศักยภาพในการผลิตและส่งมอบสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

และเมื่อคุณผ่านมาตรฐานในเรื่องการผลิตและโรงงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการกำหนดวันจำหน่ายสินค้าและกำหนดยอดสั่งผลิตในล็อตแรก ซึ่งจะมีรายละเอียดและข้อกำหนดต่างๆ เช่นรูปแบบการกระจายสินค้าจะเป็นไปในลักษณะใดครอบคลุมทุกสาขาหรือต้องการเจาะจงเฉพาะพื้นที่

จากนั้นก็กำหนดวันจำหน่ายผลิตล็อตแรกระบุรายละเอียดและข้อกำหนดต่าง

เปิดสูตรสร้างธุรกิจโตในร้านเซเว่นฯ  

     เฉลิมพงษ์ ศรีโรจนันท์ เจ้าของธุรกิจเครื่องสำอาง Royal Beauty เล่าว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง Royal Beauty เกิดขึ้นจากแนวคิดและความตั้งใจที่อยากจะเปลี่ยนชีวิตของคนให้ดีขึ้น เพราะเมื่อคนเราหันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น โดยใช้เวลาพัฒนาและคิดค้นอย่างจริงจังไปพร้อมๆ กับการทำวิจัยตลาด เพื่อหาช่องว่างทางการตลาด เพราะต้องยอมรับว่าสินค้าประเภทเครื่องสำอางเป็นสินค้าที่มีการแข่งขันสูงมาก ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มคนที่มีรายได้ไม่สูงก็ต้องการสินค้าที่ดูดีเหมือนกับสินค้าที่วางในเคาน์เตอร์แบรนด์ ไม่ใช่สินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ธรรมดาอย่างที่เข้าใจ เราจึงนำจุดนี้มาพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดูพรีเมี่ยม ในราคาเพียงซองละ 39 บาท ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้ในวันนี้บริษัทมีสินค้าวางจำหน่ายใน เซเว่น อีเลฟเว่น ยาวนานถึง 7 ปี มากกว่า 20 รายการ 

     ภักดี เดชจินดา เกษตรกรผู้ปลูก กล้วยหอมทองไร่ภักดี เปิดเผยว่า ปัจจุบันกล้วยหอมทองไร่ภักดีส่งขายให้เซเว่น อีเลฟเว่นอยู่ที่ประมาณวันละ 20,000-30,000 ลูก ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นสินค้าจากภายในไร่เองประมาณ 30% ที่เหลือมาจากไร่ขนาดเล็กอื่นๆ ที่ทางไร่ให้คำแนะนำในการปลูก และเข้าไปควบคุมคุณภาพสินค้า ซึ่งกว่าจะได้เข้ามาจำหน่ายในเซเว่น อีเลฟเว่นได้นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะสินค้าจะต้องมีคุณภาพตรงตามที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งทางเซเว่น อีเลฟเว่นเองก็เข้ามาให้ความช่วยเหลือ ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคด้านต่างๆ ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการจัดเก็บสินค้า

     “แม้จะสามารถนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในเซเว่น อีเลฟเว่นได้แล้ว ก็ต้องอย่าประมาท เพราะต้องเข้าใจว่าสินค้าที่วางจำหน่ายนั้นมาจากหลายพาร์ทเนอร์ หากไม่รักษาคุณภาพและมาตรฐานก็คงไม่สามารถอยู่ในตลาดได้นาน ยิ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีรอบช่วงเวลาสั้นก็ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของการรักษาคุณภาพและมาตรฐานให้ดีที่สุด พร้อมๆ ไปกับการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ”

     เจิ้น-โสรัจ มหรรณพกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูลเกิ้ล จำกัด เจ้าของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพแบรนด์ เกรนเน่ย์ (Grainey) เล่าว่า ช่วงแรกเน้นการทำตลาดต่างประเทศ แต่เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ทำให้ส่งออกไม่ได้ จึงต้องหันมาทำตลาดในประเทศแทน และตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศก็คือตลาดโมเดิร์นเทรด ซึ่งเซเว่น อีเลฟเว่น ถือเป็นตลาดโมเดิร์นเทรดที่เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย จึงตัดสินใจนำสินค้าเข้าไปนำเสนอ ทั้งที่ไม่มีความรู้เรื่องการนำสินค้าเข้าโมเดิร์นเทรด แต่ด้วยราคาที่อาจจะสูงเกินไป อาจทำให้ขายได้ยาก ทางทีมเซเว่น อีเลฟเว่น จึงให้กลับไปคิดว่าจะทำอย่างไรให้สามารถขายได้ในราคา 10 บาท ซึ่งเราก็ทำการคิดค้นจนสำเร็จและนำสินค้าตัวแรก “กราโนล่า บาร์” ไปจำหน่ายใน เซเว่น อีเลฟเว่น ได้ในที่สุด และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี 

     นอกจากมาตรฐานแล้วขนาดและราคาสินค้าก็เป็นสิ่งที่ SME ต้องคำนึงถึงหากต้องการขายของในแซเว่น

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน