เจาะลึกเส้นทาง ส.ขอนแก่น จากสินค้าพื้นบ้านสู่สินค้าส่งออกทั่วโลก

TEXT : กองบรรณาธิการ

     

      ส.ขอนแก่น เป็นแบรนด์ที่คนไทยรู้จักกันดีในเรื่องของสินค้าพื้นเมือง อาทิ ไส้กรอกอีสาน หมูหยอง หมูแผ่น และกุนเชียงก็ดี แต่กว่าจะมามีชื่อเสียงขนาดนี้ก็ได้ผ่านอุปสรรคมามากมาย อย่างวิกฤตต้มยำกุ้งที่ทำให้เป็นหนี้สามร้อยล้านชั่วข้ามคืน

       แต่ด้วยเลือดนักสู้ ใช้เวลา 5 ปีในการเคลียร์หนี้สินทั้งหมด พร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจ จนผลิตสินค้าอาหารส่งออกไปจำหน่ายครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ไปฟังประสบการณ์จริงจาก ดร.เจริญ รุจิราโสภณ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ส. ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) มีวิธีจัดการกับสิ่งเหล่านี้อย่างไรกัน

       บริษัท ส. ขอนแก่น ก่อตั้งขึ้นโดย ดร.เจริญ รุจิราโสภณ ผู้มีประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมอาหารนานมากกว่า 10 ปี ก่อนที่จะมาก่อตั้งบริษัท ส. ขอนแก่น ขึ้นในปี พ.ศ. 2527 ด้วยเงินลงทุน 300,000 บาท ช่วงเริ่มต้นเขาเห็นว่าคนกรุงเทพฯ ชอบกินหมูหยอง หมูแผ่น และกุนเชียง เมื่อเดินทางไปขอนแก่น ก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาจำหน่ายที่กรุงเทพฯ และนี่คือที่มาของ ส. ขอนแก่น ในเวลาต่อมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งและการควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐาน เขาได้ก่อตั้งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าเหล่านี้เอง

มีเงินแสนแต่อยากไปตลาดทั่วโลก

      “ตั้งแต่วันแรกผมเริ่มทำธุรกิจมีคนงานแค่ 2 คน จนกระทั่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ จนประสบความสำเร็จใน 15 ปี สิ่งที่ผมทำคือมองไปข้างหน้า”

      “ตอนนั้นผมมีเงินทุน 3 แสนบาท แล้วคิดจะไปทั่วโลกได้อย่างไร เหมือนมีรถแต่ไม่มีน้ำมัน เพราะฉะนั้นผมต้องระดมทุนให้ได้ ผมต้องเอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ แล้วระดมทุน มันเหมือนการต่อจิ๊กซอว์ ถ้าบริษัทใหญ่ทั่วไปมีทุน ก็จะทำจากอาหารสัตว์มาสู่อาหารคน แต่ของผมไม่มีทุน ผมก็จะทำจากอาหารคนไปสู่อาหารสัตว์ ทำจากปลายน้ำสู่ต้นน้ำ”

วิกฤตต้มยำกุ้งสู่การคิดใหม่ทำใหม่

       ดร.เจริญ เล่าว่าพอเขาต้องการระดมทุน มีแหล่งเงินทุนมาเข้ามามากมาย ทั้งในต่างประเทศต่างประเทศ ซึ่งตอนนั้นใครปล่อยเงินกู้เท่าไหร่เจ้าของส.ขอนแก่นก็กู้หมด โดยเงินที่กู้มาเพื่อเอาไปขยายฐานการผลิต แต่เหมือนโชคชะตาไม่เข้าข้าง โรงงานที่สร้างยังไม่ทันได้เก็บเกี่ยวผลผลิตก็มาเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้ผมเป็นหนี้ทันที 200-300 ล้านบาทชั่วข้ามคืน

      “ตอนนั้นก็ต้องนั่งรับหมายศาล รับหมายทนาย ทุกวัน ทุกอาทิตย์ ตอนแรกเรียกว่าตั้งหลักไม่ได้ มีอยู่ทางเดียวคือหาคนคอยรับโทรศัพท์ แล้วบอกว่าคุณเจริญไม่อยู่ ไปต่างประเทศ หรือต่างจังหวัดบ้าง ไม่สะดวกติดต่อ แต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่ง ผมมานั่งคิดว่าคิดถูกหรือเปล่าที่ทำแบบนี้ เงินเป็นพันๆ ล้าน มาอยู่ในมือผม ถ้าผมไม่มีเกียรติยศ ผมก็กู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นมานั่งคิดใหม่ ทำใหม่ ตั้งหลักใหม่ โดยอย่างแรกคือ โทรศัพท์ไปเรียกเจ้าหนี้มาทีละราย และบอกกับเจ้าหนี้ว่าผมไม่หนี ผมไม่มี แต่ผมจะจ่ายให้ ให้โอกาสผม ซึ่งผมใช้เวลา 5 ปีในการเคลียร์หนี้สินทั้งหมด”

      เรียกได้ว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง นอกจากมาสร้างหนี้แล้วยังสร้างบทเรียนอันมีค่าให้กับ ดร.เจริญ “สิ่งที่คุณต้องทำคือ ต้องเผชิญหน้ามัน ถ้าตกใจหรือทำอะไรไม่ถูก รอวันตายอย่างเดียว ตั้งสติ สู้ เอาปัญหามาวางและแก้ไข”

เดินหน้าขยายธุรกิจ ปักหมุดยุโรป สร้างฐานการผลิต         

     เมื่อตั้งสติได้ ดร.เจริญ ก็เริ่มมองหาหนทางและสังเกตว่าอะไรที่จะขายได้และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก

     “ผมว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรม สาขาโภชนาการ เวลาที่ต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยส่วนมากติดใจในอาหารไทย พอกลับไปประเทศตัวเองบางคนกินอาหารไทยสัปดาห์ละมื้อ และมันก็ได้กระจายไปทั่วโลก ผมจึงตั้งเป้าแล้วต่อจิ๊กซอว์เข้าไป จิ๊กซอว์ตัวแรกที่ผมทำ ก็คือสร้างฐานการผลิตในยุโรป ผมไปตั้งส.ขอนแก่นใน ฮอลแลนด์ แล้วตั้งฐานการผลิตที่นู้น ผมจ้างคนต่างชาติผลิต จ้างขาย ตั้งบริษัทบริหาร ซึ่งตอนนี้ถ้าคุณไปอังกฤษ คุณก็จะได้กินไส้กรอกอีสาน หรือไปนอร์เวย์ สวีเดน มีแหนม ส.ขอนแก่นขาย และมียี่ห้อเดียว คือ ส.ขอนแก่น”

แตกไลน์อาหารซีฟู้ด ปั้นลูกชิ้นปลา เจาะตลาดโลก

      ด้วยข้อจำกัดของเนื้อหมูที่ไม่สามารถทำตลาดได้ในทุกประเทศ แต่ดร.เจริญมีความต้องการที่จะทำอาหารไทยไปสู่ตลาดโลก หลักจากโรงงานได้ 3 ปี จึงเริ่มทำธุรกิจลูกชิ้นปลา

      “ถ้าเราจะทำธุรกิจให้ใหญ่ ทำตลาดในประเทศไทยก็จะได้แค่ 60 กว่าล้านคน ในขณะที่ทั่วโลกมีถึง 6-7 พันล้านคน เพราะฉะนั้นถ้าคุณจะทำธุรกิจใหญ่คุณต้องไปทั่วโลก ผมต้องกระโดดไปเรื่องซีฟู้ด ลูกค้าที่กินแหนม หมูหยอง ส่วนใหญ่เป็นคนเอเชีย ผมทำลูกชิ้นปลา ไม่ต้องสอนให้เขากิน เขากินเป็นกันทุกคน ทำให้ผมเริ่มจากลูกชิ้นปลา”

      ปัจจุบัน ส.ขอนแก่นนอกจากมีสินค้าพื้นเมืองแล้วยังมีพวกซีฟู้ด อาหารทะเล ที่ส่งไปขายครอบคลุม 4-5 ทวีปของโลก เอเชีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

Egg E Egg Egg ร้านอาหารจีน สูตรแต้จิ๋ว ขายวันละ 3 ชั่วโมง เตรียมส่งไม้ต่อรุ่นที่ 3

Egg E Egg Egg คือชื่อของร้านอาหารบรรยากาศที่บ้าน ตั้งชื่อตามเสียงไก่ขัน ขายเมนูง่ายๆ ผ่านกระบวนการปรุงแบบภัตตาคาร ขายแค่บรานซ์ (Branch) วันละ 3 ชั่วโมง

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ