เปิด 2 กฎเหล็กการปรับตัว คิดแบบค้าปลีกยักษ์ใหญ่ ที่ช่วยพลิกธุรกิจ SME ให้โตไว

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • เพราะหนึ่งในหน้าที่สำคัญของการผลิตสินค้าและบริการขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

 

  • แต่จากความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ที่มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาทิ การเติบโตของเทคโนโลยี, การเปลี่ยนไปของสิ่งแวดล้อม จึงไม่แปลกที่จะทำให้ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

 

  • วันนี้จึงมีเคล็ดลับดีๆ ในการปรับตัวจากผู้บริหารเซเว่นฯ ธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของไทยมาฝากกัน

 

     รู้ไหมก่อนที่จะเจอโอกาสธุรกิจใหม่ๆ แม้แต่แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่างเซเว่น อีเลฟเว่น ก็ยังต้องปรับตัวตามความต้องการของลูกค้า ยกตัวอย่างเช่นก่อนหน้าที่จะมีโควิด-19 เซเว่นฯ เองยังไม่ได้มีบริการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าถึงบ้าน แต่หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขึ้นมา กลุ่มลูกค้าอาศัยอยู่กับบ้านกันมากขึ้น ไม่ได้ออกมาช้อปปิ้งข้างนอก เซเว่นจึงปรับตัวและเพิ่มบริการ 7-Eleven Delivery ขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันกินรายได้กว่า 10 เปอร์เซ็นต์จากยอดรายได้ทั้งหมดของธุรกิจ โดยในแต่ละวันมียอดการสั่งซื้อผ่านเซเว่น เดลิเวอรีจากร้านสาขาทั่วประเทศมากกว่า 6 แสนออร์เดอร์ต่อวันทีเดียว

     นี่คือ สิ่งที่ ยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีพี ออลล์ กำลังพยายามบอกกับเราในงานสัมมนา “SME ปี 2023 พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป SME ยุคใหม่ต้องเปลี่ยนตาม” เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเราได้สรุปแง่คิดและกลยุทธ์การปรับตัวเอาไว้ดังนี้

ทำไมต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา?

     โดยผู้บริหารเซเว่นฯ ได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพและอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จาก 2 ตัวอย่าง คือ

  • ลูกค้าคนเดิม แต่อายุเพิ่มมากขึ้น – ธุรกิจค้าปลีกภายใต้แบรนด์ เซเว่น อีเลฟเว่น เปิดดำเนินการในไทยมาตั้งแต่ปี 2532 กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในตอนนั้นมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 5-25 ปี จนมาถึงปัจจุบันผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว กลุ่มลูกค้าดังกล่าวจะมีอายุอยู่ที่ 35 – 55 ปี ดังนั้นหากเรายังขายสินค้าแบบเดิมเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ย่อมไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าเดิมได้ เพราะด้วยอายุและความต้องการเขาเปลี่ยนไปแล้ว

 

  • ทำเลเดิม แต่สิ่งปลูกสร้างเปลี่ยนไป -  เช่น แต่เดิมอาจเป็นอาคารพาณิชย์ ยกตัวอย่างสินค้าขายดีอาจเป็นเบียร์สิงห์ ต่อมามีโครงการจะก่อสร้างคอนโดฯ ก็ต้องมีการรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตั้งเป็นแคมป์คนงานขึ้นมาก่อน ซึ่งสิ่งที่ลูกค้านี่บริโภคอาจไม่ใช่เบียร์ แต่เป็นสุราพื้นบ้าน จนสุดท้ายคอนโดฯ เปลี่ยนกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ชื่นชอบเบียร์และสุรานำเข้า จะเห็นได้ว่าทำเลที่ตั้งเดิม แต่กลุ่มลูกค้าเปลี่ยนตลอดเวลา หากเรายังขายสินค้าอยู่แบบเดิมๆ โดยไม่ปรับตัว เราก็จะไม่สามารถขายได้ เป็นต้น

 

หัดตั้งคำถาม เอ๊ะ! …ให้บ่อยขึ้น

     โดยกล่าวต่อว่าคนที่จะสามารถบอกให้เราปรับตัวและพัฒนาธุรกิจได้ดีที่สุด ก็คือ ตัวเราเอง การหมั่นตั้งคำถามอยู่บ่อยๆ เช่น เอ๊ะ! เราจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ยังไง จะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร จะทำให้เรากลายเป็นคนที่ตื่นตัวและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา จนวันหนึ่งเราก็จะปรับตัวได้ดีเอง เพราะวันหนึ่งหากเราไม่ยอมปรับ แต่คนอื่นปรับ ลูกค้าก็จะวิ่งไปหาคนอื่นได้

     ขั้นตอนวิธีการปรับตัว ก็คือ 1.หาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า 2.เอาความต้องการของลูกค้าเป็นตัวตั้ง เพื่อนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ และ 3.ปรับตัวตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

อย่าลืมสร้างจุด Check Point ให้ธุรกิจอยู่เสมอ

     หลังจากที่เริ่มดำเนินการปรับตัว เพื่อทันกับความต้องการของลูกค้าแล้ว SME ควรตั้งจุด Check Point ของตัวเองขึ้นมา เพื่อวัดประสิทธิภาพของธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น หากต้องขับรถจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ 8 ชม. หากเราขับไปเรื่อยๆ ก็ถึงเหมือนกัน แต่หากเราลองสร้างจุด Check Point เช่น ใน 3 ชม.ต้องไปถึงนครสวรรค์ จะทำให้เราสามารถวัดประสิทธิภาพของตัวเองได้ คือ หากใช้เวลาเพียง 2.30 ชม. แสดงว่าเราสามารถทำเวลาได้ดี, หากใช้เวลา 3 ชม.แสดงว่าทำได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ แต่หากทำได้ 3.30 ชม. ล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ เราก็ต้องย้อนมาดูสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร และต้องปรับปรุงยังไง เพื่อให้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้

     และนี่คือแง่คิด และกลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจที่ผู้บริหารเซเว่นฯ ได้กล่าวฝากเอาไว้

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน