ทำได้ไง! เปลี่ยนมะละกอให้เป็นซอส เพิ่มมูลค่า 200 เท่า จากสวนละออ

TEXT : Neung Cch.

PHOTO: สุนันท์ ล้อสมทรัพย์

Main Idea

  • นอกจากภัยธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคทำให้สินค้าเกษตรเกรดเอต้องเป็นเกรดรอง

 

  • สวนละออ จึงพลิกวิกฤตเปลี่ยนมะละกอที่เคยขายได้กิโลกรัมแค่หลักสิบบาทสู่การแปรรูปเป็นซอสที่ช่วยเพิ่มมูลค่า 200 เท่า

     “ในการทำเกษตรแล้วจะทำให้สินค้าออกมามีคุณภาพเกรด A ได้ 100% นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะมีอุปสรรคที่ยากจะควบคุมหลายอย่าง อาทิ เรื่องภัยธรรมชาติ ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้กลายเป็นสินค้าเกรดรอง หรือบางทีก็กลายเป็นของเสียของที่จะต้องไปทิ้ง” ศิวะ คงตระกูลเทียน ประธานบริษัท สวนละออการ์เด้น จังหวัดตาก เปิดประเด็นถึงอุปสรรคในการทำเกษตรที่ส่วนใหญ่จะพบเจอ แต่เขากลับคิดต่อว่าจากสินค้าเกรดรองเหล่านี้จะทำให้กลับมามีมูลค่าได้ยังไง นั่นคือที่มาของ การเปลี่ยนมะละกอให้เป็นซอสรายแรกในประเทศไทย ที่สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าถึง 200 เท่า

เปลี่ยนจุดด้อยให้เป็นแข็ง

     ทางออกอย่างหนึ่งของเกษตรกรส่วนใหญ่หรือแม้แต่ที่สวนละออคือ มักจะนำสินค้าเกษตรที่เป็นเกรดรอง เช่น ผลไม้ที่มีการตกหล่นหรือโดนกระแทกทำให้ดูไม่สวยหรือช้ำ ไม่สามารถขายเป็นลูกได้ จึงนำมาแปรรูป อย่างที่สวนละออมีการนำมาละกอมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย เช่น ไอศกรีมมะละกอ มะละกออบแห้ง ข้าวเกรียบมะละกอ แต่ทว่าก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด

     “เรารู้สึกว่าการแปรรูปเหล่านี้ไม่เหมาะกับมะละกอ เพราะมะละกอมีความเปียก ชื้น ในตัวค่อนข้างสูง แต่ขณะเดียวกันมะละกอเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์สูง มีความหวาน เราก็เลยคิดว่าน่าจะเปลี่ยนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำน่าจะดีกว่า ลองผิดลองถูกเกิดเป็นไอเดียใหม่ๆ เป็นรายแรกที่เอามะละกอมาทำเป็นซอส ให้คนทานได้ในรูปแบบใหม่”

ทิ้งมะละกอเป็นตัน กว่าจะได้สูตรที่ลงตัว

     นอกจากจะพบว่ามะละกอเหมาะกับการแปรรูปเป็นซอสแล้ว ศิวะ ยังมองถึงโอกาสในการทำตลาดด้วย ซึ่งมูลค่าตลาดของซอสในประเทศไทยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท แม้จะเป็นผู้เล่นหน้าใหม่แต่เขามองว่าปัจจุบันก็มีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ยอมเปิดใจทดลองสินค้าใหม่ๆ ฉะนั้นในการแปรรูปมะละกอให้เป็นซอสจึงต้องเน้นที่เรื่องคุณภาพที่ต้องใช้เวลาและความอดทน และต้องสร้างความแตกต่างคือ แจกสูตรซอสไปปรุงเป็นอาหารให้ลูกค้าทำได้ทันที

     “อุปสรรคเรื่องแรก คือ การทำให้รสชาติคงที่สม่ำเสมอยากมาก ต้องใช้ความพยายามทดลองทำบ่อยๆ ซ้ำๆ ด้วยความโชคดีคุณพ่อเป็นนักวิจัย เรามีทีมงานเก็บข้อมูล เราทดลองมากกว่า 100 ครั้งเสียมะละกอมากกว่า 1 ตันแน่นอน ไม่ใช่แค่ทดลองให้ซอสได้รสชาติดีเท่านั้น เรายังทดลองนำซอสไปปรุงในอาหารต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 100 ครั้ง เพื่อนำไปปรุงกับเมนูอาหารต่างๆ เช่น ต้มแซ่บต้องใส่ซอสเท่าไหร่ เหมือนขายสูตรอาหารให้ลูกค้าได้เลย ซอสไม่จำเป็นต้องกินกับเฟรนช์ฟรายส์อย่างเดียว สามารถเอาไปแทนเครื่องพริกแกงได้ ทำผัดเปรี้ยวหวานได้ ปรุงทำอาหารได้หลากหลายมากขึ้น เพื่อเพิ่มจุดแข็งให้สินค้าเรา”

     “นอกจากนี้เราโชคดีได้ร่วมงานกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาตามหา SME เพื่อไปร่วมทำงานวิจัยเรื่องการยืดอายุสินค้า เป็นโครงการของงภาครัฐ ซึ่งทำให้ซอสมะละกอเราสามารถเก็บได้นานได้ถึง 2 ปี”

เคล็ดลับเพิ่มมูลค่าได้กว่า 200 เท่า

     ศิวะ เผยว่าในโลกของธุรกิจ เรื่องข้อมูลสำคัญมาก ไม่ว่าจะทำเกษตร ทำการแปรรูป เพราะการเก็บข้อมูลสามารถเรียกดูย้อนหลัง ส่งต่อผ่านไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือสามารถใช้เตือนตัวเองได้ เพราะคนเราไม่สามารถจดจำได้ทุกเรื่อง และการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ช่วยทำให้ธุรกิจดีขึ้น

     เขาได้ยกตัวอย่างประโยชน์ที่ได้จากการเก็บข้อมูลคือ การแปรรูปมะละกอเป็นซอล ที่แต่ละครั้งเขาใช้มะละกอ 50 กิโลกรัม เพราะใช้มะละกอน้อยกว่าหรือมากกว่านี้จะให้รสชาติที่ได้ไม่สม่ำเสมอที่สามารถช่วยทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและเพิ่มมูลค่าสินค้าได้

     “เอามะละกอมาแปรรูปเป็นซอสเพิ่มมูลค่าได้ 200 กว่าเท่า ซึ่งการแปรรูปสินค้าเกษตร มันเป็นโอกาสอยู่แล้ว แต่โอกาสก็จะมาพร้อมกับการแข่งขันทางการตลาดๆ ฉะนั้นก่อนแปรรูปต้องตอบโจทย์ตลาดให้ได้ วี่ควรเอาสินค้าเกษตรเอาไปทำอะไร ก่อนที่จะไปลงทุนแปรรูป อย่างที่ผมทำซอสมะละกอ ผมต้องการจับกลุ่มลูกค้ารักสุขภาพ อยากทานซอสทำจากผลไม้โดยตรง หรือกลุ่มคนออกกำลังกาย ที่ต้องการปริมาณอาหารในจำนวนที่เพียงพอ

     “เป้าหมายในการทำซอสมะละกอของผมคือ ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรได้ และเป้าหมายต่อไปคือ ส่งออก หรือส่สวนแบ่งตลาดในประเทศ 1% จาก 500 ล้านบาท ปีหนึ่งก็ได้ 50 ล้านนะครับ”

Tips แปรรูปสินค้าเกษตรให้สำเร็จแบบสวนละออ

     1.ต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสินค้าที่จะแปรรูป

     2.มีความอดทน ในการลองผิด ลองถูก

     3.ดูว่าสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด

     4.สร้างคอนเนกชั่นมาช่วยทำให้การแปรรูปสินค้าทำได้คล่อง สะดวกขึ้น

 

ข้อมูลติดต่อ

facebook: laorflowergarden
Phone: 064 407 1482
Mail: farm.laor@gmail.com

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

House of Gems BKK จากพนักงานโรงแรมสู่คุณแม่ฟูลไทม์ที่ปั้นแบรนด์เครื่องประดับจากน้ำนมแม่

เพราะตัดสินใจออกมาจากงานโรงแรมเพื่อเลี้ยงลูก จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ House of Gems BKK ที่บิ้ว-กัลยา อภิชัยกุล ใช้น้ำนมแม่มาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นเครื่องประดับจากน้ำนมที่ทั้งสวยและทัชใจคุณแม่หลายคน เป็นธุรกิจใหม่ของคุณแม่ฟูลไทม์

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว