Better Surf Thailand เปลี่ยนหาดร้างให้เป็น Surf Capital จุดรวมพลนักเซิร์ฟทั่วโลก

TEXT : ชาญชัย หาสสุด

PHOTO : Better Surf Thailand

Main Idea

  • Better Surf Thailand คือ โรงเรียนเซิร์ฟที่สามารถสร้างหาดร้างให้กลายเป็นหาดเซิร์ฟ จนกลายเป็นจุดหมายสำคัญของนักเซิร์ฟทั่วโลก

 

  • Better Surf ไม่ได้เป็นแค่โรงเรียนสอนนักโต้คลื่น แต่สร้างให้ชายหาด Memories Beach กลายเป็นชุมชนของนักเซิร์ฟและช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชน

 

     หากหน้าร้อนเปรียบเหมือนสวรรค์สำหรับคนชอบเที่ยวทะเล ช่วงหน้ามรสุมนักเซิร์ฟคงคิดไม่ต่างกัน ทะเลอาจจะดูไม่น่ารักยามมีคลื่นลม แต่นั่นคือ ความท้าทายของคนชอบกีฬาโต้คลื่น บางคนตัดสินใจปักหลักตามหาจิตวิญญาณที่นี่ อย่าง  Better Surf Thailand

     ต๊ะ-ทวีโรจน์ เอี๋ยวพานิช หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Better Surf Thailand เล่าถึงปมของบ้านเกิดก่อนเริ่มรู้จักเซิร์ฟ

     “ผมเกิดที่ตะกั่วป่า แต่ไปอยู่โรงเรียนประจำที่กรุงเทพฯ กลับมาบ้านช่วงสีนามิ แต่รอดได้ด้วยความบังเอิญ พอกลับไปก็ได้ยินแต่คนพูดถึงทีนี่ไม่ค่อยดี เหมือนเป็นเมืองผีสิง ทำให้เพื่อนๆ ไม่กล้ามาเที่ยว หลายคนกลัว ผมจึงรู้สึกสะเทือนใจกับภาพที่คนอื่นมองตะกั่วป่าและเขาหลักในตอนนั้น จริงๆ ผมเริ่มรู้จักเซิร์ฟจริงจัง ตอนไปเรียนต่อที่ออสเตรเลีย จากแค่นักกีฬาว่ายน้ำจังหวัด จนได้ทำตามความฝันเป็นนักเซิร์ฟ”

     Memories Beach ทำให้ต๊ะค้นพบว่า เมืองไทยก็เล่นเซิร์ฟได้

     “ครั้งแรกที่เข้าไป Memories Beach ได้เจอกับ พี่ฉิ่ง มนตรี ณ ตะกั่วทุ่ง ที่ช่วยสอนให้ฟรี จากนั้นก็ช่วยกันทำชมรม คลับเล็กๆ หาเด็กมาเข้าทีม จัดหาอุปกรณ์ให้ เขียนรีวิวลงพันทิปในยุคแรกๆ จนกลายเป็นที่รู้จัก และสร้างให้เพจ Surfer's Holiday มีชื่อเสียง เขาหลักบูมขึ้นมา เป็นโอกาสให้ได้ร่วมงานกับแบรนด์ดังทั่วโลก จนสามารถสร้างภาพลักษณ์ให้เขาหลักกลายเป็นจุดหมายของการเล่นเซิร์ฟได้”

     จาก Passion จนกลายเป็นธุรกิจหล่อเลี้ยงตัวเอง ส่งต่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งระบบ

     “พอมีเซิร์ฟเข้ามา เราจับมือกันประสานความเป็นท้องถิ่นกับความเป็นสากล จากเมืองที่หลายคนมองว่าเป็น Ghost Town ให้กลายเป็น Surf Town จนตอนนี้เซิร์ฟได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางด้านท่องเที่ยวและส่งผลให้เศรษฐกิจของเขาหลักเติบโตไปด้วยกัน”

     “Better Surf Thailand เกิดจากการที่คนรักเซิร์ฟทำด้วยกัน มี แมน-ชาติชาย สมพร นักกีฬาโต้คลื่นทีมชาติ และ เรมี-อาทิต์ยา จันทร์ประเสริฐ อดีตนักกีฬาทีมชาติซีเกมส์ ก่อนหน้านี้เราช่วยพี่ฉิ่งทำโรงเรียนสอนเซิร์ฟ ชื่อ "ปะการัง" หลังจากนั้นจึงแตกแบรนด์ออกมาทำเอง ซึ่งก็คือ Better Surf Thailand นั่นแหละ เพื่อโฟกัสในเรื่องการบริการให้ครบวงจร เพิ่มระบบเข้ามา มีทั้งเรื่องของการจัดการตลาด รับจอง รับทำคอนเทนต์ให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมโปรโมทการท่องเที่ยวกับ ททท.  ส่วนแบรนด์ปะการังจะเน้นในเรื่องบริการภาคสนาม นอกจากนี้เรายังมีโปรดักต์ชื่อ "Beach Boy Commu" เป็นสินค้าส่งออกไปขายหลายประเทศ เป็นความสำเร็จระดับสากล เมื่อเร็วๆ นี้เราเปิดสาขาที่สอง ชื่อ "Low Tide" ที่หาดนางทอง เพิ่มขึ้นมาด้วย”

     ต๊ะเล่าให้ผมฟังอีกว่า Better Surf ยังพยายามช่วยทำให้ธุรกิจอื่นๆ รอดไปด้วย สร้างการหมุนเวียนให้ธุรกิจ โดยใช้จุดแข็งของโซเซียลมีเดียที่มี สนับสนุนชุมชน เช่น รับน้องมอร์แกนมาเป็นผู้ช่วยสอน จนสามารถพัฒนาเป็นผู้ฝึกสอนได้

     “เรามีแผนอยู่เยอะแยะมากมาย แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ มีแค่งบประมาณหลักจาก ททท. ปีละไม่มาก ในขณะที่เซิร์ฟสามารถสร้างรายได้แต่ละปีหลายร้อยล้านบาท”

     ต๊ะจบท้ายด้วยข้อสังเกตที่สะท้อนภาพบางอย่าง

 

     ผมใช้เวลานั่งดูความเคลื่อนไหวของนักโต้คลื่นเกือบครึ่งวัน อย่างที่ต๊ะบอก ความสุขของพวกเขาอยู่ในน้ำ อยู่บนบอร์ด อยู่ที่ได้พูดคุยกับคนที่ชอบสิ่งเดียวกัน  ในอีกมุมหนึ่ง หลายคนอาจจะอยากขอบคุณคนพวกนี้ ที่ช่วยสร้างชีวิตให้ทะเลดูเป็นมิตรและอบอุ่นหน้ามรสุม

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.bettersurfthailand.com/

https://www.facebook.com/bettersurfthailand

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ทำไมบันไดต้องมีแบรนด์? ฟังเฉลยจาก "ลายวิจิตร" ผู้คิดโซลูชั่นบันไดสำเร็จรูป พาธุรกิจโต 10 เท่า

โดยส่วนใหญ่ในธุรกิจ B2B การสร้างแบรนด์ อาจดูไม่ค่อยมีความจำเป็นมากเท่ากับ B2C ที่ขายปลีกโดยตรงถึงผู้บริโภค ยิ่งเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในงานต่างๆ ตัวอย่างเช่น บันได แต่แล้วทำไม? บันได ต้องมีแบรนด์ ไปดูกัน

คำสารภาพจากแม่ค้าประตูน้ำ ยอมออกจาก Comfort zone สู่โลกออนไลน์ เมื่อความสำเร็จเดิมใช้ไม่ได้อีกต่อไป

ช่วงนี้มักได้ยินเสียงบ่นของพ่อค้าแม่ค้าหนาหูว่า เศรษฐกิจไม่ดีและไม่ใช่เศรษฐกิจไม่ดีแบบธรรมดา แต่เป็นเศรษฐกิจที่แย่สุดๆ รับรู้ได้จากแม่ค้าหลายรายได้โพสต์คลิประบายความในใจจนกลายเป็นไวรัล

บ้านต้นไม้ร้อยหวัน โฮมสเตย์ที่อยากให้คนมาใช้ชีวิตเรียบง่าย กินของพื้นบ้านและนอนฟังสายน้ำ

บ้านพักแนวโฮมสเตย์รักษ์วิถีชุมชน ที่อยากชวนคนให้มาอยู่กับธรรมชาติอย่างเรียบง่าย กินของพื้นบ้านและนอนฟังสายน้ำ รับเฉพาะลูกค้าจองล่วงหน้าเท่านั้น