ธนชาต จับมือ BCEL ร่วมพัฒนาระบบชำระเงินข้ามพรมแดนผ่านมาตรฐาน QR Code เป็นครั้งแรก




     ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาต่อยอดการใช้มาตรฐาน QR Code สำหรับชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ข้ามประเทศเป็นครั้งแรก ภายในงาน ASEAN Payment Connectivity Exhibition ซึ่งจัดขึ้นที่ จ.เชียงราย โดยเป็นการร่วมมือกับพันธมิตรลาว คือ ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว BCEL (Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao Public) ธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเป็นธนาคารชั้นนำด้านเทคโนโลยี e-banking ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในประเทศลาว โดยมี นายอนุวัติร์ เหลืองทวีกุล รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก ธนาคารธนชาต  พร้อมทั้ง นายพู่ขง จันทะจัก กรรมการผู้จัดการ BCEL และนายนันทะลาด แก้วปะเสิด รองกรรมการผู้จัดการ BCEL ร่วมสาธิตการใช้บริการดังกล่าว
 

     สำหรับการให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดน QR ขาเข้า Cross Border QR Payment Inbound ช่วยให้ลูกค้า ของ BCEL ชำระค่าสินค้าและบริการในประเทศไทยแบบเรียลไทม์ เพียงสแกน QR Code ของร้านค้าของไทย ด้วยโมบายแอปพลิเคชัน BCEL One นับเป็นการนำประสบการณ์การชำระเงินมือถือข้ามพรมแดนไปสู่อีกระดับหนึ่ง
  

     โดยปีที่ผ่านมา ธนาคารธนชาตและ BCEL ได้ร่วมกันเปิดให้บริการ Cross Border QR Payment สำหรับธุรกรรมชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ข้ามประเทศเป็นครั้งแรก โดยลูกค้าของ BCEL หรือลูกค้าชาวลาวที่ต้องการซื้อสินค้าและบริการในประเทศไทยสามารถจ่ายด้วยการสแกน QR Code ผ่านแอปพลิเคชั่น BCEL One Pay ได้อย่างสะดวกสบายแบบ Real Time ตลอดเวลา โดยมีธนชาตทำหน้าที่เป็นตัวแทนชำระเงิน (Sponsor Bank) ในประเทศไทยให้กับ BCEL เมื่อลูกค้าของ BCEL เดินทางมาประเทศไทยก็สามารถใช้โมบายแอพฯ สแกนซื้อสินค้าในไทยร้านใดก็ได้ที่รับชำระด้วยมาตรฐาน QR Code ไม่ว่าร้านค้านั้นจะเป็นลูกค้าของธนาคารใดก็ตาม ภายใต้มาตรฐานและความปลอดภัยสูงสุด ถือเป็นการเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้แก่ผู้จ่ายและผู้รับ ลดภาระการถือเงินสด ลดความเสี่ยง ในการแปลงสกุลเงินตราต่างประเทศ  เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการที่สะดวกยิ่งขึ้น  นับเป็นการนำประสบการณ์การชำระเงินมือถือข้ามพรมแดนไปสู่อีกระดับหนึ่ง และเป็นความสำเร็จด้านการชำระเงินข้ามประเทศที่ใช้ได้จริงและสมบูรณ์มากที่สุดเป็นรายแรกของประเทศไทย
 

     นายอนุวัติร์ เหลืองทวีกุล รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว เมื่อลูกค้าของ BCEL เดินทางมาประเทศไทย สามารถใช้โมบายแอปพลิเคชัน BCEL One Pay สแกนซื้อสินค้าในไทยร้านใดก็ได้ที่รับชำระด้วยมาตรฐาน QR Code  ได้อย่างสะดวกสบายแบบเรียลไทม์  เพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้แก่ผู้จ่ายและผู้รับ ลดภาระการถือเงินสด ลดปัญหาการทอนเงิน และลดความเสี่ยงในการแปลงสกุลเงินตราต่างประเทศให้กับลูกค้าของทั้งสองประเทศ ซึ่งได้ทดลองให้บริการมาตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว  และในปีนี้ ธนาคารธนชาต ได้ต่อยอดความร่วมมือกับ BCEL พัฒนาระบบการรับชำระค่าสินค้าและบริการนี้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่เรียกว่า Cross Border QR Payment Outbound ทำให้คนไทยที่ไปท่องเที่ยวใน สปป.ลาว สามารถชำระค่าสินค้าและบริการผ่านโมบายแอปพลิเคชั่นของทุกธนาคารไทย โดยการสแกน  QR Code ที่ร้านค้าซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร BCEL
 

     ความสำเร็จจากความร่วมมือกันของธนาคารธนชาตกับ BCEL ในการพัฒนาระบบการใช้มาตรฐาน  QR Code  เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการผ่านพร้อมเพย์ข้ามแดนได้เป็นครั้งแรกนี้ จะสามารถส่งเสริมการค้าและสนับสนุนการชำระเงินระหว่างสองประเทศอีกด้วย เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสจากบริเวณจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน มีการข้ามแดนมาซื้อสินค้าและบริการในฝั่งประเทศไทยเป็นจำนวนมาก   

RECCOMMEND: FINANCE

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้

ฟังผู้บริหาร บสย. แนะ SME เสริมสภาพคล่อง เข้าถึงสินเชื่อในระบบ

ในยุคที่เศรษฐกิจผันผวนและการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต่างต้องการ “เงินทุน” ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แต่ “การเข้าถึงสินเชื่อในระบบ” ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการ ทางออกหนึ่งคือการหันไปหา “เงินกู้นอกระบบ”

ไขข้อข้องใจ! ทำไม SME ถึงเข้าแหล่งเงินทุนยาก ฟังแนวทางแก้ไขจากกูรูด้านการเงิน

รู้หรือไม่จำนวน SME ของไทยกว่า 3.2 ล้านราย มี SME ไม่ถึงครึ่งที่เข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทั้งๆ ที่ SME คือฟันเฟืองที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่การที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนสถาบันการเงินกลับไม่ใช่เรื่องง่าย