จับตาธุรกิจเดือน ก.ค. SME ตั้งใหม่หลายพัน แต่เลิกกิจการก็ไม่น้อย!




Main Idea
 
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รายงานการจดทะเบียนธุรกิจในเดือนกรกฎาคม 2562 พบว่ามีจำนวน  6,459 ราย  เพิ่มขึ้น 495 ราย  เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป  ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร
 
  • ส่วนธุรกิจที่เลิกกิจการ  มีจำนวน 1,594 ราย  โดยสูงสุด 3 อันดับแรก   ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 143 ราย  ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 99 ราย  และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดการ จำนวน 31 ราย  
 
  • ทั้งนี้โดยปกติจะมีจำนวนการจัดตั้งธุรกิจในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง  ยังถือเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการจัดตั้งธุรกิจสำหรับไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีนี้




     กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รายงานการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนกรกฎาคม 2562 พบว่ามีธุรกิจจัดตั้งใหม่ยังเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ตัวเลขบริษัทที่เลิกกิจการก็เพิ่มกว่าปีก่อนเช่นเดียวกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 
 



ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนกรกฎาคม               
       

          - จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่
  มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 2562 จำนวน  6,459 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2562 จำนวน  5,586 ราย เพิ่มขึ้น จำนวน  873 ราย    คิดเป็นร้อยละ 16 และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 5,964 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 495 ราย คิดเป็นร้อยละ 8


            - ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 596 ราย คิดเป็น  ร้อยละ 9 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 330 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร จำนวน 211 ราย คิดเป็นร้อยละ 3
      

             - มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่  ในเดือนกรกฎาคม 2562  มีจำนวนทั้งสิ้น 22,866 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2562 จำนวน 15,147 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 7,719 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51 และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 26,354 ล้านบาท ลดลงจำนวน 3,488 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13
      

           - ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน  โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 4,699 ราย คิดเป็นร้อยละ 72.75 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท มีจำนวน 1,642 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.42 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 99 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.53 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.30


          - ธุรกิจจัดตั้งใหม่สะสม จำนวนธุรกิจตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ค. 62 มีจำนวน 44,681 ราย เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค. - ก.ค. 61) จำนวน 43,512 ราย โดยเพิ่มขึ้น จำนวน 1,169 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 สำหรับมูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ค. 62 มีจำนวน 140,622 ล้านบาท ลดลง 28,604 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมา (ม.ค. - ก.ค. 61) จำนวน 169,226 ล้านบาท
 





     ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนกรกฎาคม
        

         - จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ 
มีจำนวน 1,594 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2562 จำนวน 1,264 ราย  เพิ่มขึ้นจำนวน 330 ราย คิดเป็นร้อยละ 26 และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 1,688 ราย ลดลงจำนวน 94 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 
    

         - ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 143 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 99 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดการ จำนวน 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ตามลำดับ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    - มูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ  ในเดือนกรกฎาคม 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 8,279 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2562 จำนวน 4,973 ล้านบาท ลดลงจำนวน 3,306 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 66 และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 6,282 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,997 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32
         

          - ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1,103 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.23 รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 409 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.63 ลำดับถัดไปคือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 74 ราย   คิดเป็นร้อยละ 4.64 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.50


         - ธุรกิจเลิกสะสม จำนวนธุรกิจเลิกสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ก.ค. 62 มีจำนวน 8,261 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 284 ราย คิดเป็นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค. – ก.ค. 61) จำนวน 7,977 ราย มูลค่าทุน  จดทะเบียนธุรกิจเลิกสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ก.ค. 62 มีจำนวน 30,615 ล้านบาท ลดลง 14,995 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมา (ม.ค. – ก.ค. 61) จำนวน 45,610 ล้านบาท
 




ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนกรกฎาคม
          

          - ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น  (ณ วันที่ 31 ก.ค. 62)  ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน739,922 ราย  มูลค่าทุน 16.85 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 184,293 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.91 บริษัทจำกัด จำนวน 554,381 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.92 และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,248 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17
        

          - ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน  ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 439,125 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.35 รวมมูลค่าทุน 0.39 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.31 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 215,342 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.10 รวมมูลค่าทุน 0.70 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.15 รองลงมา คือ    ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 70,197 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.49 รวมมูลค่าทุน 1.90 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.28 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 15,258 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.06 รวมมูลค่าทุน 13.86 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 82.26 ตามลำดับ 
 


      แนวโน้มการจัดตั้งธุรกิจ
                 

        เมื่อประเมินจากอัตราการเติบโตของ GDP และแนวโน้มด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงแนวโน้มการ จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจตามฤดูกาล (Seasonal Trend) พบว่า โดยปกติจะมีจำนวนการจัดตั้งธุรกิจในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง    ยังถือเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการจัดตั้งธุรกิจสำหรับไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีนี้ได้
 

            การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว เดือนกรกฎาคม


      - เดือนกรกฎาคม 2562  มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 64 ราย แบ่งเป็น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 25 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ 39 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 10,822 ล้านบาท


      - นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 18 ราย เงินลงทุนกว่า 4,502 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 9 ราย เงินลงทุน 1,154 ล้านบาท และฮ่องกง 6 ราย เงินลงทุน 2,808 ล้านบาท


       - การเปรียบเทียบการลงทุนรายเดือน เมื่อเปรียบเทียบการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติในเดือนกรกฎาคม กับเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่คนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น 22 ราย หรือประมาณร้อยละ 52 ในขณะที่เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 2,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30
 
 


     ที่มา : กองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน