ค้าขายกับต่างประเทศ ไม่อยากขาดทุนต้องอ่าน! เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงค่าเงินผันผวน

TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย





     หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศคงหนีไม่พ้น “อัตราแลกเปลี่ยน” จากสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศที่มีความผันผวนมากขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนไปด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อ SME ที่ขาดการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเพราะอาจส่งผลต่อผลประกอบการที่ขาดทุนได้เลยทีเดียว


     อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้มีเครื่องมือทางการเงินที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงด้านค่าเงินให้กับผู้ประกอบการ ไปดูกันว่ามีเครื่องมือใดบ้าง




 
  • บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit : FCD)


     คือบัญชีเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ต้องการฝากเงินไว้ในรูปแบบเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ยูโร (EUR) เยน (JPY) เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้เงินตราต่างประเทศเป็นประจำ อย่างเช่น ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า โดยสามารถฝากได้ทั้งแบบกระแสรายวัน ออมทรัพย์ และฝากประจำ ซึ่งบัญชีแต่ละประเภท และแต่ละสกุลเงิน จะมีอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการฝากแตกต่างกัน
               

     สำหรับผู้ประกอบการที่มีการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเป็นประจำสามารถที่จะเลือกเปิดบัญชีดังกล่าวเพื่อเก็บสกุลเงินต่างประเทศเอาไว้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นสกุลเงินบาทในทันทีเพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามบัญชีเงินฝากประเภทนี้จะมีค่าธรรมเนียมการฝากด้วย
               

     ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสามารถฝากเงินตราต่างประเทศผ่าน FCD ได้มากขึ้นเพื่อลดปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่า จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่ต้องนำเข้าส่งออก




 
  • สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (FX Forward)


     เป็นบริการที่ธนาคารเข้ามาช่วยรับซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อบริหารความเสี่ยงจากรายได้ หรือค่าใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศที่กำลังจะมีการมอบในอนาคตของผู้ประกอบการ เช่น ธุรกรรมการค้าที่ได้ตกลงกับคู่สัญญาไว้แล้ว เช่น คำสั่งซื้อสินค้า การจ่ายคืนเงินกู้ต่างประเทศ
               

     การซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจะช่วยให้ผู้ประกอบการรับรู้ต้นทุนของอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าไม่ว่าค่าเงินจะผันผวนไปในทางแข็งค่าหรืออ่อนค่า ต้นทุนดังกล่าวก็จะไม่เปลี่ยนไปเพราะได้ทำสัญญาล่วงหน้าไว้แล้วกับทางสถาบันการเงิน
               

     ทั้งนี้การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นการทำเพื่อบริหารความเสี่ยงไม่ใช่ทำเพื่อเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนแต่อย่างไร โดยผู้ประกอบการที่ต้องการทำธุรกรรมดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ธนาคารที่ใช้บริการอยู่




 
  • สัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศ (FX Swap)


     เป็นบริการที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่บริการ Swap จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเงินบาทมาแลกกับสกุลเงินต่างประเทศหรือนำสกุลเงินต่างประเทศมาแลกกับเงินบาทในอัตราที่คงที่แน่นอนโดยทางสถาบันการเงินจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง
               

     ล่าสุดค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นจนหลุดระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งกระทบต่อผู้ส่งออกที่จะรับรู้รายได้เมื่อมีการรับรายได้กลับมาประเทศไทยในรูปเงินบาท ตลอดจนกำลังซื้อจากต่างชาติที่ลดลง และมีแนวโน้มที่ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นได้อีก


     ผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกจึงควรศึกษาเครื่องมือช่วยบริหารความเสี่ยงค่าเงินตั้งแต่วันนี้










 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน