ประกันความเสี่ยงค่าเงินด้วย USD Futures ข้อดีและข้อด้อยที่ SME ต้องรู้

TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย

 

     ความเสี่ยงของภาคธุรกิจในเวลานี้ ก็คือ ความผันผวนของค่าเงินโดยเฉพาะค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ที่ทำธุรกิจนำเข้า ขณะเดียวกันหากค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่ทำธุรกิจส่งออกด้วยเช่นกันทำให้ผู้ประกอบการต้องมีเครื่องมือทางการเงินที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการค่าเงิน

     โดย USD Futures ซึ่งเป็นตราสารอนุพันธ์ที่ออกโดยบริษัทตลาดซื้อขายตราสารล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX ภายใต้กลุ่มของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงมั่นใจได้ว่าเป็นสถาบันการเงินที่มีความมั่นคงอย่างแน่นอน

     ทั้งนี้ USD Futures จะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับสกุลเงินดอลลาร์เทียบเคียงกับเงินบาท โดยราคาที่เปลี่ยนแปลงจะอ้างอิงกับคู่ค่าเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐฯในตลาดการเงินจริง โดยผู้ที่ซื้อขายจะไม่ต้องทำธุรกรรมเงินบาทจริงๆแต่เป็นการซื้อขายสัญญาที่มีอายุในการส่งมอบเป็นรายไตรมาส

     จุดแข็งของ Futures คือการที่สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง แต่นอกจากการทำกำไรแล้ว ในมุมของผู้ที่ทำธุรกิจยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงได้อีกด้วย โดย 1 สัญญาของ USD Futures จะมีมูลค่าเท่ากับ 1,000 ดอลลาร์ แต่เวลาที่ซื้อขายจริงจะใช้เงินเริ่มต้นในการวางมาร์จินต่อหนึ่งสัญญาที่ 665 บาท โดยจะต้องเปิดบัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์กับโบรกเกอร์ที่ได้รับใบอนุญาต

     โดยหากมองว่าค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาทให้ทำการเปิดสถานะ Long หมายถึงซื้อล่วงหน้าในสกุลเงินดอลลาร์เพื่อทำกำไรหากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและเงินบาทอ่อค่าลง เช่น ปัจจุบันเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์อยู่ที่  36 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ หากมองว่าเงินบาทจะอ่อนค่าไปที่ 37 บาทต่อดอลลาร์ ก็ให้เปิดสถานะ Long 

     แต่ถ้าหากมองว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลงเช่นจาก 36 บาทต่อดอลลาร์ลงมาอยู่ที่ 35  บาทต่อดอลลาร์ ให้เปิดสถานะขายล่วงหน้าหรือ Short เมื่อเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงก็จะสามารถทำกำไรได้

     กล่าวคือ ผู้ประกอบการที่ทำธุรกรรมนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่เสียเปรียบจากการที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสามารถทำการเปิดสถานะ Long ใน USD Futures เอาไว้เมื่อค่าเงินดอลลาร์มีการแข็งค่าขึ้นก็จะเกิดผลกำไรซึ่งสามารถนำมาชดเชยกับผลขาดทุนจริงที่เกิดขึ้นกับธุรกิจได้

     

หรือจะเป็นการบริหารเงินสดที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์โดยการเข้าสะสมเงินดอลลาร์ไว้กับตัวโดคาดการณ์ว่าจะแข็งค่าหรืออ่อนค่าจากนั้นสามารถซื้อหรือขายล่วงหน้าในสัญญา USD Futures เพื่อนำผลกำไรที่เกิดขึ้นมาใช้ในธุรกิจต่อ

     อย่างไรก็ตามในมุมของผู้ประกอบธุรกิจ การใช้ตราสารอนุพันธ์ควรจะมองว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้นไม่ควรที่จะมุ่งเก็งกำไรเพื่อสร้างผลกำไร เนื่องจากตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือที่มีความผันผวนสูงและหากบริหารเงินในพอร์ตไม่ดีก็อาจจะประสบผลขาดทุนได้ ผู้ที่จะใช้เครื่องมือนี้จึงควรมีความชำนาญในตลาดการเงินระดับสูง

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

 

RECCOMMEND: FINANCE

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน

พลิกอุปสรรค สู่ความสำเร็จ สร้างธุรกิจรายได้หลักร้อยล้าน

ทุกย่างก้าวในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเผชิญวิกฤตหรือได้รับโอกาส มุมมองในการบริหารธุรกิจก็เป็นสิ่งสำคัญ และตัวช่วยที่ขาดไม่ได้ในการนำพาธุรกิจพุ่งทะยานสู่รายได้หลักร้อยล้าน คือ เงินทุน พบกับ 4 ธุรกิจ พลิกจากอุปสรรค เป็นสร้างรายได้ทะลุร้อยล้าน