บริษัทพัฒนาเมืองขับเคลื่อน Smart City

 


    บริษัทพัฒนาเมือง เป็นโมเดลใหม่ที่ช่วยเติมเต็มการพัฒนาเมืองสู่ Smart City ให้เป็นจริงได้รวดเร็วขึ้นผ่านควมร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาครัฐ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมืองสู่ Smart City


    ในปีที่ผ่านมานโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล Thailand 4.0 เป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง โดยหนึ่งในโครงการที่ช่วยส่งเสริมนโยบายดังกล่าว คือ โครงการส่งเสริมพื้นที่พิเศษสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ Smart City ซึ่งจะช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยให้เกิดการเชื่อมต่อ ปรับเปลี่ยน แก้ไขระเบียบข้อบังคับอันเป็นการจำกัดโอกาสในการลงทุน รวมทั้งเพื่อส่งเสริมพัฒนานวัตกรรมและการเรียนรู้เทคโนโลยี 


    ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กล่าวว่า สำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านโครงการ Smart City นั้น ทางกระทรวงดีอีได้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ การจัดทำโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ขยายจุดให้บริการฟรีไวไฟ ซึ่งตรงนี้คือจุดเริ่มต้น แต่การจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ต้องอาศัยพลังประชารัฐหรือการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชนที่เป็นคนในพื้นที่ 

 


    แนวคิดหลักของ Smart City คือ การกระจายอำนาจและสร้างความสามารถในการบริหารจัดการเมืองของแต่ละท้องถิ่น การสร้างอำนาจให้กับประชาชน และชุมชนในการร่วมกำหนดทิศทาง รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นและการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในการบริหารจัดการเมือง เช่น การมีระบบแจ้งเหตุร้ายหรือความเสียหายของเมืองจากประชาชนผ่านระบบแอปพลิเคชัน โดยหากมีการใช้อย่างต่อเนื่องและมีการแสดงความคิดเห็นเข้ามา ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาและความชัดเจนด้านต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นสัญญาณให้เกิดการผลิกโฉมเมืองได้จริง 


    สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ซิป้า) เดิม  หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ Phuket Smart City ชี้ถึงปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นที่เป็นอุปสรรคสู่การพัฒนา Smart City แบบยั่งยืน เช่น ปัญหาด้านงบประมาณในการขับเคลื่อนที่ไม่ต่อเนื่อง การขาดผู้ดำเนินงานในระยะยาว ดังนั้นจึงต้องดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม จุดนี้เองเป็นข้อต่อที่สำคัญในการเชื่อมประสานการลงทุนและเป็นที่มาของการก่อตั้งบริษัทพัฒนาเมือง 


    ตัวอย่างที่น่าสนใจเช่น บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) ที่มีแนวคิดต้องการพัฒนาขอนแก่นให้หลุดพ้นจากกับดักของรายได้ระดับปานกลางและการรอคอยการพึ่งพาจากผู้อื่น ทั้งนี้ภายหลังการดำเนินการจัดตั้งบริษัทพัฒนาเมืองของขอนแก่น ก็เป็นที่มาให้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดภูเก็ตดำเนินการตาม     
 


    ทั้งนี้ ในการจัดตั้ง “บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง (พีเคซีดี)” เกิดขึ้นครั้งแรกจากการรวมตัวของนักธุรกิจท้องถิ่น 25 คน ลงทุนจดทะเบียนเปิดบริษัทในทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โดยการบริหารในรูปแบบบริษัทโฮลดิ้งคอมพานี ซึ่งประกอบด้วยหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ๑๒ หน่วยธุรกิจ และมีหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการ Phuket Smart City ด้วย


    คาดว่าการดำเนินการดังกล่าวจะได้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นในช่วงเดือนเมษายน โดยการเปิดตัวแอปพลิเคชันที่จะทำให้นักท่องเที่ยววางแผนการเดินทางได้สะดวกมากขึ้น โดยจะมีการลงทุนเรื่องรถขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวคำนวณเวลาการเดินทางและรู้ว่าควรเดินทางเช่นไรได้ และการพัฒนาแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านการลงทุน 


    อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าความต้องการของเมืองนั้นมีไม่สิ้นสุดและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ใช่การลงทุนเพียง 1 ปีแล้วเลิกไป แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ จะนำงบประมาณจากที่ไหนมาลงทุน ดังนั้นงบประมาณจากภาคเอกชนจึงเป็นคำตอบที่จะทำให้กงล้อทั้งหมดหมุน ดังนั้นการมีบริษัทพัฒนาเมืองจะเป็นตัวกลางในการจัดการเรื่องการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะทำให้ง่ายขึ้น


    ในมุมของผู้ประกอลการเอสเอ็มอีนั้น สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทพัฒนาเมืองได้ โดยติดต่อกับผู้แทนในจังหวัดที่มีโครงการซึ่งปัจจุบันเริ่มต้นจาก 3 จังหวัด ได้แก่ ขอบแก่น เขียงใหม่ และภูเก็ต แต่ในอนาคตกำลังมีแผนจะขยายโครงการไปสู่เมืองอื่นๆ อีกหลายเมือง ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะมีอย่างน้อย 6 เมืองเข้าร่วมโครงการ จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ก้าวมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาให้เมืองน่าอยู่มากขึ้น
..................................

    สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เลขที่ 120 ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทรศัพท์ : 0-2141- 7101 โทรสาร : 0-2143- 8059  อีเมล์ : ossc@sipa.or.th

    และสามารถเข้าเยี่ยมชมโครงการประจำปี ร่วมถึงโครงการ Flagship อื่นๆของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กว่า 20 โครงการ ได้ที่เว็ปไซต์ www.sipa.or.th/th/projects

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2