สำนักงานตำรวจแห่งชาติเดินหน้าตรวจจับองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ หลังได้เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ มุ่งเน้นงานสืบสวนและขยายการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม โชว์แนวทางลดต้นทุนแก๊ส LPG แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ในภาวะแก๊ส LPG ราคาสูงขึ้น เปิดตัวอย่างโรงงานที่ประสบผลสำเร็จในการผลิต ลดปริมาณการใช้แก๊สรวมได้กว่า 50% ด้วยการใช้นวัตกรรมในการผลิต อาทิ Gas saver อุปกรณ์ที่ช่วยลดการสิ้นเปลืองของแก๊ส LPG เครื่องพ่นสีนวัตกรรมใหม่เพื่อให้ประหยัดเวลาในการทำงานและได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 50% เทคนิคการใช้สีพ่นชนิดใหม่ที่แห้งเร็วและใช้อุณหภูมิในการอบสีต่ำลง รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการผลิตให้ใช้พลังงานเชื้อเพลิงหรือแก๊ส LPG อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
นายชาวันย์ สวัสดิ์ชู-โต รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2556 พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ ลดลงอยู่ที่ 43.3 จากระดับ 46.8 (ลดลง 3.5) โดยภาคค้าส่ง ภาคค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 46.4 44.6 และ 40.6 จากระดับ 49.1 45.9 และ 46.8 (ลดลง 2.7 1.3 และ 6.2) ตามลำดับ เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศและต่อธุรกิจตน ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 36.2 และ 36.6 จากระดับ 44.6 และ 43.4 (ลดลง 8.4 และ 6.8) ตามลำดับ
เดือนสิงหาคมยอดจัดตั้งบริษัทใหม่แผ่วลดลง 1% แต่เมื่อรวม 8 เดือนยังขยายตัว 19% ธุรกิจยอดฮิตยังคงเป็นก่อสร้าง วิทยุและโทรทัศน์ อสังหาริมทรัพย์ ด้านพาณิชย์เตือนยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก น้ำมันแพง ค่าเงินผันผวน
กระทรวงอุตสาหกรรม จับตา 6 ปัจจัยเสี่ยงครึ่งปีหลัง ทั้งปัญหาต้นทุนค่าแรง-เศรษฐกิจชะลอตัว-วัตถุดิบเพิ่ม-แรงงานขาด-การแข่งขันในต่างประเทศ-ค่าเงิน ผวารัฐปรับขึ้นค่าแรงซ้ำ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือนก.ค. พบว่า ผู้ประกอบการเริ่มเห็นว่า ความไม่แน่นอนทางการเมือง จะเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจมากขึ้น รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจมีเพิ่มขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ช่วยดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพและไม่ผันผวนเร็วเกินไป เพราะแม้การที่เงินบาทได้อ่อนค่ามาอยู่ในระดับ 32 บาท/ดอลลาร์ จะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกและทำให้ยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นได้ก็ตาม
ก่อนที่ประเทศไทยและประเทศชิลีจะทำการลงนามความตกลงการค้าเสรี (FTA) อย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการทำ FTA ครั้งสำคัญ เพราะชิลีเองก็ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย ที่เป็นทั้งฐานการผลิตและการค้าของอาเซียน รวมทั้งไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของชิลีในบรรดาสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีมูลค่าการค้าระหว่างกันประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และสำหรับประเทศไทยเองก็มองว่าประเทศชิลีเป็นประตูการค้าสำคัญของไทยในการขยายตลาดในภูมิภาคลาตินอเมริกา และคาดว่าจะสามารถส่งออกสินค้าต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น เช่น ยานยนต์ ปลาแปรรูป (ปลากระป๋อง) พอลิเมอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะปูนซีเมนต์ เม็ดพลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง อัญมณี และที่สำคัญ คือ การเปิดตลาดข้าว นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์ในการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ทองแดง สินแร่เหล็ก และเยื่อกระดาษอีกด้วย
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) เปิดเผยในงาน ไทยแลนด์ โฟกัส 2013 ว่า เศรษฐกิจไทยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ไม่เปราะบางอย่างที่กังวลไว้ แต่สิ่งจำเป็นในขณะนี้ คือรัฐบาลควรเร่งปรับปรุงพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ให้แผนการต่าง ๆ มีความชัดเจน มากกว่ากังวลเรื่องเงินจะไหลออก เพราะปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ของไทยถือว่าดีมาก และโครงการที่รัฐต้องทำอย่างจริงจัง อาทิ รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง ที่ควรมีตั้งนานแล้ว