ยกระดับสู่ Digital SMEs ด้วยแผน 5 ขั้น

 
.




    5 วิธีในการบริหารจัดการด้านไอทีสู่การยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสู่ดิจิทัลเอสเอ็มอี วันนี้ไอทียังเป็นปัญหาใหญ่ของเอสเอ็มอี ทั้งการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และโซลูชัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนตัวเองสู่ดิจิทัล โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ สร้างความสำเร็จให้ธุรกิจ



    วันนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกำลังเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ ทั้งการปรับตัวของธุรกิจขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้นการเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทำให้การเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในปัจจุบันต้องเผชิญกับแรงบีบคั้นให้ปรับเปลี่ยน ภายใต้ข้อจำกัดทั้งด้านเงินทุนและบุคลากร 



    ปัจจุบันธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ สืบเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้ฝืดเคือง ค่าใช้จ่ายทางธุรกิจเพิ่มขึ้น การขาดแคลนเงินทุนที่จำเป็นในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจหรือขยับขยายให้เติบโต รวมถึงคู่แข่งที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยมากนัก 



    ผลการศึกษาจากไอดีซีและเอสเอพีพบว่า เกือบ 1 ใน 3 ของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกเสียเวลาส่วนมากไปกับการบริหารจัดการ การปฏิบัติงานในแต่ละวัน แทนที่จะวางแผนสำหรับการเติบโตทางธุรกิจ นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังพบว่า 55% ของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีมองเห็นแนวโน้มที่ดีของธุรกิจจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในขณะที่ 47% เชื่อว่าการให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของธุรกิจ ตัวเลขดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นว่า เกินครึ่งของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลเป็นอับดับแรกในการบริหารธุรกิจ



    ก้าวแรกที่สำคัญของเอสเอ็มอีในการสร้างมูลค่าและสร้างโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ มาจากกรอบแนวคิดพื้นฐานด้านดิจิทัล ทั้งนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีควรดำเนินธุรกิจอย่างทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีระดับเดียวกับองค์กรใหญ่ในปัจจุบัน แทนการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่เริ่มตกยุค ยกตัวอย่างเช่น MEMEBOX บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติเกาหลี ที่ใช้ประโยชน์จากโซลูชันของเอสเอพีในการขยายธุรกิจสู่ประเทศจีน อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปพร้อม ๆ กับการขยายช่องทางซื้อขายจากหน้าร้านมาสู่ออนไลน์ และยังช่วยสร้างความชัดเจนในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยบริหารในทุก ๆ เครือข่าย



    ถึงแม้จะเจอกับสถานการณ์กดดันต่าง ๆ นานา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เอสเอ็มอีเหล่านี้ก็ยังมีโอกาสยกระดับความคล่องตัวและความเร็วเพื่อบุกเข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังใช้ประสบการณ์ที่ตนเองมีเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับบริษัทสตาร์ทอัพต่าง ๆ ได้ โดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวแปรสำคัญที่จะเข้ามาช่วย ทำให้มีข้อได้เปรียบด้านความเร็ว ค่าใช้จ่ายที่ลดลง และความเรียบง่ายในการดำเนินธุรกิจ 



    กรอบแนวคิดพื้นฐานด้านดิจิทัลถูกออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีต่าง ๆ สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้นและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม แทนที่จะรอโซลูชันที่สมบูรณ์แบบเพียงอย่างเดียว เอสเอ็มอีควรเริ่มต้นโดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัน ดังนั้นเทคโนโลยีควรมีส่วนช่วยในการผลักดันธุรกิจให้เติบโตขึ้น ไม่ใช่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เพราะในปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่ระบบดิจิทัลไม่ได้เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมใหม่อีกต่อไป แต่มันคือความจำเป็นต่อการอยู่รอดของแต่ละองค์กร


    ต่อไปนี้เป็น 5 ประการที่ต้องทำ เพื่อปรับตัวก้าวสู่ดิจิทัล


    1. แกนหลักแบบดิจิทัล ด้วยแกนการทำงานหลักแบบดิจิทัล เอสเอ็มอีสามารถดำเนินธุรกิจได้แบบเรียลไทม์และต่อยอดข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจ เพื่อคาดการณ์และพัฒนาการตัดสินใจ การเพิ่มผลผลิต และการเพิ่มกำไรได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น 


    2. ประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า การพัฒนาประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าผ่านการบริการช่องทางที่หลากหลายผ่านการผสมผสานการตลาด การขาย การให้บริการ และการค้า ไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน 


    3. การมีส่วนร่วมของบุคลากร ทุกวันนี้ ผู้คนทำงานหนักขึ้น แต่ประสบความสำเร็จน้อยลง เนื่องมาจากความซับซ้อนภายในองค์กร เอสเอ็มอีจำเป็นต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากรและมีการวิเคราะห์ที่ลึกขึ้น เพื่อช่วยค้นหาและรักษาบุคลากรที่ดีที่สุดให้อยู่กับองค์กรไปในระยะยาว


    4. เครือข่ายธุรกิจและการร่วมมือกับซัพพลายเออร์ การร่วมมือกันระหว่างตลาดต่าง ๆ คือกุญแจสำคัญสู่การสร้างมูลค่าให้กับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเอสเอ็มอีที่กำลังก้าวสู่การเป็นสากลมากขึ้น ความท้าทายและโอกาศที่ใหญ่ที่สุดในการเชื่อมต่อ Ecosystem ต่าง ๆ เป็นวงกว้าง คือจำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นแบบยกกำลังและสูญหายไปในเครือข่าย การใช้โซลูชันที่เหมาะสม จะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถส่งต่อข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งมอบข้อมูลเชิงลึก และเพิ่มประสิทธิภาพของวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ แลกเปลี่ยน นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น 


    5. สินทรัพย์และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) เอสเอ็มอีสามารถต่อยอดพัฒนาไอโอทีเพื่อสร้างมูลค่าที่มากขึ้นให้แก่ลูกค้าได้ พร้อม ๆ ไปกับการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ และรูปแบบรายได้ใหม่ ผ่านการสร้างพันธมิตรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยการใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วยในการทำงานขั้นพื้นฐาน เอสเอ็มอีจะสามารถรองรับการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้น และสามารถกลายเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้เช่นกัน


    การปรับเปลี่ยนเอสเอ็มอีจากธุรกิจดั้งเดิมไปสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า มีบทบาทในการส่งเสริมและผลักดันเอสเอ็มอีให้ปรับตัวสู่ดิจิทัลเอสเอ็มอี ผ่านโครงการให้ความรู้ อบรม พัฒนา และเป็นพี่เลี้ยงให้กับเอสเอ็มอีผ่านศูนย์ให้ความช่วยเหลือ One Stop Service ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอขึ้นทะเบียนเพื่อรับการสนับสนุนและส่งเสริมได้ที่ www.sipa.or.th



 

RECCOMMEND: TECH

“จุลินทรีย์คึกคัก” นวัตกรรมกำจัดสารเคมีตกค้างบนดิน ตัวช่วยเกษตรกรประหยัดทุน ได้ธุรกิจยั่งยืน

จุลินทรีย์คึกคัก ตัวช่วยแก้ปัญหาสารเคมีตกค้าง สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ด้วยฝีมือคนไทยจากบริษัท ไบโอม จำกัด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตอบโจทย์การทำธุรกิจแบบยั่งยืน

เทคนิคขายของออนไลน์อย่างไร ให้สต็อกไม่จม ออร์เดอร์ไม่หลุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง Double day หรือเทศกาลต่างๆ เป็นโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ตักตวงออร์เดอร์มากกว่าช่วงเวลาปกติ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสเหล่านี้ไม่กลายเป็นวิกฤตสร้างปัญหาทางธุรกิจ เช่น สต็อกจม ส่งของไม่ทัน ทำให้สูญเสียลูกค้าในที่สุด

รู้จักเทรนด์ Hyper Automation ช่วย SME กำจัดงานซ้ำๆ น่าเบื่อให้หมดจากองค์กร

Automation หรือ "ระบบอัตโนมัติ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อนาคตจะพัฒนาไปสู่ Hyper automation เพื่อช่วยกำจัดความยุ่งยากของการทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ และก่อนจะสายเกินไป เพื่อให้ธุรกิจตามทันเทคโนโลยี ลองมาทำความรู้จักกับเทรนด์นี้พร้อมกัน