ซิป้าจัดหาเงินทุนสนับสนุนผู้ประกอบการ


    สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำ สนับสนุนแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการวงเงินค้ำประกันมูลค่า 10,000 ล้านบาท ตั้งเป้าช่วยเหลือผู้ประกอบการ 400 ราย
 
    หนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของสำนักงานงานส่งเสริมอุตสาหกรรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า คือการสนับสนุนผู้ประกอบการด้านไอซีทีให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ทัดเทียมกับผู้ประกอบการในต่าง

ประเทศได้ ซึ่งการสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนก็เป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี

    ชัยณรงค์ ฉัตรรัตนวารี ผู้จัดการฝ่ายมาตรการส่งเสริม สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า มาตรการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการไอซีทีนั้น เป็นหนึ่งในโครงการ

ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy โดยแบ่งมาตรการส่งเสริมออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย

    1. การส่งเสริมสิทธิประโยชน์ทางภาษี ภายใต้ความร่วมมือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการผลักดันผู้ประกอบการเข้าถึงสิทธิ์ประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้สิทธิ์นี้จะได้รับประโยชน์หลาย

ด้าน เช่น เมื่อผู้ประกอบการประกอบธุรกิจและได้กำไรในแต่ละปี สามารถถือเงินไว้เพื่อใช้เป็นสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจได้ โดยที่ยังไม่ต้องชำระภาษีเงินได้ประจำปี

    2. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นมาตรการที่ซิป้าสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนทรัพยสินทางปัญญา โดยซิป้าจะมีทีมที่ปรึกษาให้คำแนะนำเกี่ยวกับกับการจดแจ้งลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันการถูกละเมิด ซึ่งถ้าดำเนินการ

ผ่านซิป้าจะใช้เวลาเพียง 1-2 สัปดาห์ จากระยะเวลาปกติจะใช้เวลา 1-2 เดือน และจะมีการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการที่เรียกว่าศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ

    3. การสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เป็นมาตรการที่สนับสนุนและจัดหาแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการ ซึ่งล่าสุดซิป้าได้มีข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันการเงินชั้นนำ ทั้งธนาคารกสิกรไทยและเอสเอ็มอีแบงก์ เพื่อ

สนันสนุนแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการในรูปแบบของวงเงินค้ำประกันมูลค่า 10,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ 2 ปีและมีเป้าหมายการสนับสนุนผู้ประกอบการประมาณ 400 ราย




     ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ธนาคารยังมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย โดยธนาคารกสิกรไทยได้ผลักดันผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีความสะดวกมากขึ้น เช่น 

การโอนสิทธิ์การรับเงิน สัญญาให้ทุน สัญญาร่วมทุน สัญญาจ้าง ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำสัญญาดังกล่าวมาขอเงินกู้กับธนาคารกสิกรไทย โดยใช้สัญญากับซิป้าเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑสินเชื่อแบบ Clean 

Loan ดอกเบี้ยต่ำที่ให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ประกอบการโดยไม่ต้องมีหลักประกันหรือคนค้ำประกัน 

    ส่วนบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้อนุมัติโครงการค้ำประกันผู้ประกอบการที่เรียกว่า Startup Innovation วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์หรือผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนต์ ทั้งที่เป็น

ผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ให้บริการสามารถสมัครเข้าโครงการนี้ได้ ด้วยการแสดงตัวตน มีผลิตภัณฑ์ มีลูกค้าอย่างน้อย 1 ราย ในระยะเวลา 2 ปี เป็นบริษัทสัญชาติไทยที่มีคนไทยถือหุ้นในสัดส่วน 51% ขึ้นไป 

    ภายใต้โครงการดังกล่าว ซิป้ามีเป้าหมายในการสนับสนุนผู้ประกอบด้านไอซีที 200 รายในปี 2559 และอีก 400 รายในปี 2560 รวมระยะตลอดโครงการ 2 ปี คาดว่าจะสนับสนุนเงินทุนให้ผู้ประกอบการได้ 600 ราย
 
    ชัยณรงค์กล่าวว่า การสนับสนุนผู้ประกอบการไอซีทีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนมีจุดประสงค์เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกิดการขยายตัว ซึ่งในปีแรกอาจจะได้ผลไม่มากนัก แต่ก้าวสู่ปีที่ 2 และปีที่ 3 เชื่อว่าโครงการจะมีขนาดใหญ่

ขึ้น สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้มากขึ้น และเชื่อว่าภาครัฐจะให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วยงบประมาณที่มากขึ้นด้วย 

    โครงการสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์เป็นหนึ่งในโครงการยุทธศาสตร์ที่สำคัญของซิป้า ที่ดำเนินการภายใต้แนวทางแนวนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบ

การการมีความพร้อมในการก้าวสู่ Digital Economy 
................................
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายมาตรการส่งเสริม 
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล   
โทร  0 2141 7101 ,0 2141 7199 
e-mail: bpd@sipa.or.th 
www.fabook/SIPA.THAILAND
Website : www.sipa.or.th

RECCOMMEND: TECH

“จุลินทรีย์คึกคัก” นวัตกรรมกำจัดสารเคมีตกค้างบนดิน ตัวช่วยเกษตรกรประหยัดทุน ได้ธุรกิจยั่งยืน

จุลินทรีย์คึกคัก ตัวช่วยแก้ปัญหาสารเคมีตกค้าง สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ด้วยฝีมือคนไทยจากบริษัท ไบโอม จำกัด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตอบโจทย์การทำธุรกิจแบบยั่งยืน

เทคนิคขายของออนไลน์อย่างไร ให้สต็อกไม่จม ออร์เดอร์ไม่หลุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง Double day หรือเทศกาลต่างๆ เป็นโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ตักตวงออร์เดอร์มากกว่าช่วงเวลาปกติ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสเหล่านี้ไม่กลายเป็นวิกฤตสร้างปัญหาทางธุรกิจ เช่น สต็อกจม ส่งของไม่ทัน ทำให้สูญเสียลูกค้าในที่สุด

รู้จักเทรนด์ Hyper Automation ช่วย SME กำจัดงานซ้ำๆ น่าเบื่อให้หมดจากองค์กร

Automation หรือ "ระบบอัตโนมัติ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อนาคตจะพัฒนาไปสู่ Hyper automation เพื่อช่วยกำจัดความยุ่งยากของการทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ และก่อนจะสายเกินไป เพื่อให้ธุรกิจตามทันเทคโนโลยี ลองมาทำความรู้จักกับเทรนด์นี้พร้อมกัน