​Facebook ปรับนโยบาย Feed Content

 


เรื่อง นเรศ เหล่าพรรณราย

    ด้วยนโยบายของเฟซบุ๊ค สื่อสังคมออนไลน์อันดับหนึ่งที่มุ่งเน้นให้ผู้ใช้งานเชิงธุรกิจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อที่จะให้ให้ลูกค้าได้มองเห็นกิจกรรมบนแฟนเพจ ล่าสุดเฟซบุ๊คได้ทำการปรับเปลี่ยนระบบอัลกอริธึมใหม่ทั้งหมดสามข้อ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนักการตลาดออนไลน์ต้องมีการปรับตัวตามดังนี้

    หนึ่ง..ลดจำนวนการเห็นโพสต์จากการกดไลค์ของเพื่อน ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊คได้ปรับระบบการสุ่มแสดงโพสต์ต่างๆจากแฟนเพจโดยปรับให้เห็นโพสต์ที่เพื่อนของเราเข้าไปกดไลค์ เนื่องจากระบบคาดเดาว่าสิ่งที่เพื่อนกดไล์เราเองก็น่าจะชอบด้วย  แต่ล่าสุดเฟซบุ๊คได้ปรับระบบใหม่ ลดจำนวนการเห็นโพสต์ที่เพื่อนกดไลค์ลง ทำให้เจ้าของแฟนเพจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ Sponsor เพื่อให้คนกดไลค์แฟนเพจเห็นมากขึ้น

    สอง..เฟซบุ๊คเริ่มเปิดให้เห็นฟีดมากขึ้น ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊คจะไม่เปิดโอกาสให้เห็นฟีดคอนเทนท์จากแฟนเพจใดๆมากเกินไป หากมีการโพสต์ข้อความถี่เกินไปก็จะไม่แสดงบนหน้าฟีดให้เห็นจนครบ แต่ล่าสุดเฟซบุ๊คได้อนุญาตให้คนที่กดไลค์แฟนเพจสามารถมองเห็นคอนเทนท์ได้มากขึ้นถ้ามีผู้สนใจเข้าไปกดอ่านเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคอนเทนท์นั่นจะต้องถูกต้องตามกฎระเบียบที่มีความเข้มข้นมากขึ้น เช่น ไม่โพสต์เรื่องทางเพศ ภาพที่ไม่เหมาะสม การปลุกปั่นยุยง รวมไปถึงเรื่องราวที่นำไปสู่การสร้างความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ

    สาม....แสดงโพสต์บ่อยขึ้นถ้าคนกดไลค์เข้าไปแสดงความคิดเห็น ถ้าหากโพสต์ใดที่มีคนเข้าไปแสดงความเห็นหรือเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์ด้วยเป็นจำนวนมากจะยิ่งเพิ่มโอกาสให้เห็นคอนเทนท์บนฟีดมากยิ่งขึ้น เจ้าของแฟนเพจจึงควรต้องสร้างคอนเทนท์หรือกิจกรรมที่จะสร้างปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดการเข้าถึงคอนเทนท์ให้มากขึ้น

    สรุปได้ว่าคอนเทนท์ที่จะประสบความสำเร็จบนแฟนเพจไม่ได้วัดกันที่จำนวนการโพสต์ว่าต้องมีข่าวถี่เท่าไรแต่วัดที่คอนเทนท์ที่โพสต์ว่าจะดึงความสนใจของผู้ที่ติดตามรวมถึงจะสร้างปฎิสัมพันธ์ได้มากน้อยเพียงใด การที่ผู้ใช้งานจ่ายเงินเพื่อได้รับการ Sponsor ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการการันตีว่าจะได้เห็นคอนเทนท์อีกต่อไป ซึ่งความคิดสร้างสรรค์และความสม่ำเสมอในการใช้งานจะเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ

    นอกจากนี้ เฟซบุ๊ค ยังได้เปิดบริการใหม่ในส่วนของข้อความหรือ Messenger โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถร่วมมือกับภาคธุรกิจในการสร้างเครือข่ายลูกค้าร่วมกัน กล่าวคือแบรนด์ต่างๆสามารถส่งข้อความประชาสัมพันธ์สินค้าหรือสร้างแบบสอบถามการใช้บริการไปยังผู้ใช้เฟซบุ๊คได้ 

    ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมาซึ่งเฟซบุ๊คมีบริการตอบแบบสอบถามผ่าน Messenger พบว่ายอดการมีปฎิสัมพันธ์โต้ตอบกลับเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอัตราตอบกลับเพียง 5% ปัจจุบันอยู่ทีอัตรา 74% ในอนาคตจึงมีการคาดการณ์ว่าเฟซบุ๊คจะพัฒนาแพลตฟอร์มในด้านธุรกิจขึ้นมาในชื่อ Messenger for Business เพื่อให้แบรนด์สินค้าได้ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับผู้ใช้เฟซบุ๊คกว่า 600 ล้านคน

Create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: TECH

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยังจำเป็นไหม? เมื่อ SAPPORO ใช้ AI คิดสูตรเครื่องดื่มเร็วกว่าคน 3 เท่า!

SAPPORO บริษัทเครื่องดื่มเก่าแก่ของญี่ปุ่นที่ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1876 มีอายุราว 147 ปี ซึ่งเป็นแบรนด์ที่โดดเด่นเรื่องเบียร์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มคอกเทลที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่นอีกด้วย โดยเป้าหมายหลักของ SAPPORO คือ ต้องการเร่งกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จึงร่วมมือกับ IBM Japan ในการใช้ AI พัฒนาสูตรเครื่องดื่ม AI กับมนุษย์ใครจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เร็วกว่ากัน ตามมาดูกันเลย

Fufuly หมอนฮีลใจ โอกาสธุรกิจยุคที่คนเป็นโรคเครียด

สังคมในปัจจุบันบีบบังคับให้ผู้คนกดดันจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ทำให้มีคนจำนวน 301 ล้านคน เป็นโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) และนี่เป็นโอกาสของธุรกิจที่น่าจับตามอง วันนี้เราเลยจะพาทุกคนไปรู้จัก “Fufuly หมอนฮีลใจ ช่วยผ่อนคลายความเครียด จากที่ทำงาน”

เครื่องสแกนความสดผัก ผลไม้ ลดของเสีย ยืดอายุการขาย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

หนึ่งในปัญหาสำคัญของผู้จำหน่ายสินค้าผัก ผลไม้ ก็คือ การไม่รู้อายุที่แน่นอนของสินค้า จึงทำให้ไม่สามารถวางแผนการเก็บรักษาและจำหน่ายที่แม่นยำได้ จะดีกว่าไหมถ้ามีเครื่องสแกนบอกอายุผัก ผลไม้ได้