Text: Natthapat Kamolpollapat (POP)
ในโลกธุรกิจการค้าเราคงคุ้นชินกับเทรนด์การค้าที่เปลี่ยนแปลงมาตลอดตั้งแต่ยุคก่อนที่เป็นการแลกเปลี่ยนกันแบบ Offline Market การซื้อขายทำได้ที่หน้าร้านค้า ต่อมาเราก็พัฒนามาสู่ยุคของความเป็น E-Commerce ซึ่งเป็นยุคที่การซื้อขายเกิดขึ้นได้ผ่านเว็บไซต์ซึ่งเป็นช่องทาง Online ของร้านค้าซึ่งเทรนด์นี้เกิดขึ้นตามกระแสการเติบโตของระบบ Internet ที่เชื่อมโลกการค้าระหว่างกันได้อย่าไร้รอยต่อไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก จากนั้นเราได้สัมผัสกับการค้าแบบ Social Commerce, Live Commerce, ตามการเติบโตของ Platform Social Media ต่างๆ หรือแม้แต่การใช้กลยุทธ์ O2O หรือ “Online to Offline” ให้ลูกค้าชมและสัมผัสสินค้าจริงที่หน้าร้านแล้วสามารถสั่งซื้อได้ผ่านช่องทาง Online ของธุรกิจ
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในทุกการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์การค้ามักจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีหลักของโลกอยู่เสมอและจากปัจจุบันสู่อนาคตเทคโนโลยีหนึ่งที่กำลังได้รับการพูดถึงกันในวงกว้างและคาดการณ์ว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกจากความเป็น Centrallization สู่การเป็น Decentralization ตัดระบบตัวกลางออกไปจากกิจกรรการค้านั่นคือ เทคโนโลยี Blockchain และสิ่งที่เกี่ยวข้องการการค้า การลงทุน ที่เชื่อมโยงและมีหัวใจในการดำเนินกิจกรรมระบบที่เชื่อมโยงกับ Blockchain นี้คือระบบเงินตราการใช้จ่ายที่ถูกคาดหมายว่าจะกลายมาเป็นคู่แข่งตัวฉกาจของวงการด้านการเงินของธุรกิจธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินจะเข้ามา Disruption ระบบเงิน Fiat เดิมที่ใช้จ่ายกันอยู่นั่นคือ “Cryptocurrency” เพราะ ณ วันนี้แม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกยังถือครองสกุลเงินที่ได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่ง Cryptocurrency” อย่าง Bitcoin (BTC) กันในปริมาณมหาศาล อาทิ TESLA ถือครอง BTC มูลค่ากว่า 2,012.40 ล้านดอลลาร์, MICRODTRATEGY ถือครอง BTC มูลค่ากว่า 3,326.50 ล้านดอลลาร์, และ GALAXY DIGITA ถือครอง BTC มูลค่ากว่า 767.61 ล้านดอลลาร์ (https://www.bangkokbiznews.com/news/930762)
จนถึงวันนี้เราน่าจะได้คำตอบกันแล้วว่า Cryotocurrency จะเข้ามามีบทบาทมากน้อยแค่ไหนในโลกปัจจุบันและอนาคต หากคำถามนี้ถูกถามขึ้นก่อนหน้านี้สัก 5 ปี เชื่อว่าคนทั่วไปหรือแม้แต่หลายภาคธุรกิจไม่น่าจะมองภาพออกว่ามันจะเข้ามามีบทบาทได้อย่างไรในการขับเคลื่อนโลกแห่งการค้า? เพราะนอกจาก Ecosystem ที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานประกอบกับความเข้าใจในกลไกการทำงานของ Cryptocurrency ที่ยังมีเฉพาะกลุ่มจนแทบจะเป็น Niche Market ที่มีการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนกันเองระหว่างกลุ่มเท่านั้น แต่ในปัจจุบันหลายภาคธุรกิจรวมถึงธุรกิจโรงแรมเองได้มีการพยายามนำเอาระบบการรับชำระเงินด้วย Cryptocurrency เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ามากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น
1.Kessler Collection ผู้ให้บริการ Luxury Boutique Hotel จากสหรัฐอเมริกาประกาศรับชำระค่าห้องพักด้วย Cryptocurrency ตามสกุลเงินที่กำหนด
2.The Pavilion Hotels and Resort ประกาศรับชำระค่าห้องพักด้วย Cryptocurrency สำหรับการใช้บริการโรงแรมและรีสอร์ทในเครือ
3.Sri Panwa และ Ba Ba Beach Club ผู้ให้บริการโรงแรมระดับ Luxury จากประเทศไทยเตรียมเปิดให้บริการรับชำระค่าห้องพักด้วยสกุลเงิน Cryptocurrency ด้วยเช่นกัน