Finanace

5 วิธี ช่วยประมาณการการเงินมีประสิทธิภาพ

Text : วันวิสา งามแสงชัยกิจ
 


 
Main Idea
 
  • การมองสถานการณ์ทางการเงินให้ขาดทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วยการจำเป็น เพราะจะช่วยให้การวางแผนกลยุทธ์ได้ง่ายขึ้น
 
  • แล้วจะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะช่วยให้ประมาณการการเงินมีประสิทธิภาพ

 

     เมื่อเรื่องเงินเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจที่ต้องอาศัยการคาดการณ์อย่างแม่นยำ เพื่อจะช่วยให้การวางแผนกลยุทธ์ระยะยาวเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น การมองสถานการณ์ทางการเงินให้ขาดทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วยการจำเป็น และต่อไปนี้คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้ประมาณการการเงินไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

     1. คาดการณ์ให้หลากหลาย
         การประมาณการเรื่องของการเงินไม่ควรยึดติดอยู่ที่การมองในมุมบวกเท่านั้น และเพื่อที่จะรับมือต่อความเสี่ยงต่างๆ ผู้ประกอบการจึงควรทำการคาดการณ์หรือวางแผนไว้อย่างน้อย 2 สถานการณ์คือ ในแง่ดีและในแง่ที่ต้องระมัดระวัง ซึ่งจะช่วยได้มากในกรณีที่เกิดความไม่แน่นอนที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้   

     2. เริ่มต้นจากค่าใช้จ่าย
         โดยทั่วไปการคาดการณ์เรื่องของค่าใช้จ่ายจะง่ายกว่าเรื่องของรายได้ ดังนั้น จึงควรเริ่มต้นสร้างโมเดลประมาณการเรื่องการเงินจากการสรุปค่าใช้จ่ายที่คงที่ เช่น ค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ จากนั้นลองนึกถึงค่าใช้จ่ายที่อาจผันผวนโดยตรงกับรายได้ เช่น ถ้ารายได้โต 5 เปอร์เซ็นต์ก็อาจคาดได้ว่าต้นทุนขายจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน สุดท้ายให้ประมาณการค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งสามารถควบคุมได้มากที่สุด รวมถึงมีการระบุว่าหากธุรกิจฝืดเคืองค่าใช้จ่ายตัวไหนจะต้องถูกตัดหรือหากไปได้ดีกว่าที่คิดจะนำเงินไปลงทุนในด้านใดต่อไป

     3. ระบุสถานการณ์ให้ชัดเจน
          ระบุสถานการณ์และทำการลิสต์เรื่องนั้นๆ ออกมาให้ชัดเจน เช่น ตลาดจะมีการขยายหรือหดตัวมากน้อยแค่ไหน การเปลี่ยนแปลงของจำนวนคู่แข่งและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบต่อตัวธุรกิจ เป็นต้น

     4. วางขั้นตอนการขายทุกสเตป 
         การประมาณการรายได้ควรพิจารณาจากทุกช่องทางของการขายทั้งหมด มีการคาดการณ์ในแต่ละขั้นตอน เช่น ร้านขายสัตว์เลี้ยงควรมีการระบุตลาดทั้งหมดที่สามารถทำได้ มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะมาใช้บริการที่ร้าน  รวมถึงประเมินว่าคนที่มาซื้อจะมีการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยเท่าไหร่ เป็นต้น

     5. มีการประมาณการอยู่เสมอ
         การคาดการณ์ทางการเงินที่ดีไม่ควรทำเพียงครั้งเดียวแล้วปล่อยทิ้งไว้ข้ามปี ดังนั้น เพื่อให้ได้ความถูกต้องมากที่สุดผู้ประกอบการจึงควรทำการประเมินอย่างสม่ำเสมอว่าผลการดำเนินงานจริงนั้นใกล้เคียงกับสิ่งที่ได้คาดการณ์ไว้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงควรมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้รับ เพราะยิ่งมีการอัพเดตมากเท่าไรยิ่งดีต่อการวางแผนกลยุทธ์มากเท่านั้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการตัดสินใจทางธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น    
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup