Finanace

สินทรัพย์ดิจิทัลเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการอย่างไร

Text : นเรศ เหล่าพรรณราย Co-founders SCN Media Pte.Ltd
 



Main Idea
 
  • เมื่อโลกเดินหน้าเข้าสู่สังคมไร้เงินสดมากขึ้น การใช้จ่ายด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างเช่นบิตคอยน์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
 
  • ปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ เริ่มเปิดรับชำระด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น การศึกษาทำความเข้าใจการทำธุรกรรมด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรพลาด
 



     การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้โลกเดินหน้าเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) เร็วขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากการชำระเงินด้วย Digital Money แบบปกติแล้ว อีกทางเลือกหนึ่งของการชำระเงินก็คือ การใช้จ่ายด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างเช่น บิตคอยน์ ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ เริ่มเปิดรับชำระด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น ประกอบกับการมาของสกุลเงิน Libra ของเฟซบุ๊ก ซึ่งน่าจะถูกนำมาใช้งานภายในแพลตฟอร์มอย่างเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และ WhatsApp ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจะต้องได้สัมผัสกับการทำธุรกรรมด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างแน่นอน ผู้ประกอบการจึงควรที่จะเริ่มต้นศึกษาตั้งแต่วันนี้เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสที่ดีไป
 

สินทรัพย์ดิจิทัลคืออะไร

     สินทรัพย์ดิจิทัล หรือสกุลเงินดิจิทัล คือ ระบบที่ช่วยให้การชำระเงินของการทำธุรกรรม ออนไลน์ตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) สินทรัพย์ดิจิทัล แบ่งได้ 2 ประเภทคือ 1.สกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency ที่เป็นที่รู้จักและซื้อ-ขายกันทั่วโลก เช่น บิตคอยน์ Ethereum Ripple 2.โทเคนดิจิทัล ในรูปแบบ Utility Token ซึ่งไม่ได้มีสินทรัพย์อื่นรองรับใช้เพื่อแลกสิทธิประโยชน์ต่างๆ และ Investment Token ซึ่งมีสินทรัพย์อื่นๆ รองรับ อย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์

     สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือนำมาใช้จ่ายสามารถเลือกเปิดบัญชีกับศูนย์กลางซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) หรือนายหน้าซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Broker) ที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. โดยสามารถเช็กรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ www.sec.or.th
 

ทำไมผู้ประกอบการควรหันมาเปิดรับการชำระเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล

     1. แต้ม Reward ที่ได้สามารถนำมาใช้แทนเงินได้ดีกว่าเก็บไว้โดยไม่ใช้

         ปกติแล้วการสะสมแต้ม หรือ Reward ที่ได้จากการจับจ่ายซื้อสินค้าจะสามารถนำกลับไปแลกซื้อสินค้า หรือบริการได้เท่านั้น ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายหากสินค้าหรือบริการนั้นไม่เป็นที่ต้องการ แต่สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล สมมติแบรนด์ A สามารถสร้างโทเคนของตัวเองขึ้น โดยผู้ที่ใช้จ่ายสินค้าและบริการด้วย Cryptocurrency จะได้รับ Reward เป็นโทเคน A ที่นอกจากจะนำไปใช้เป็นส่วนลดในการใช้จ่ายครั้งต่อไป หรือนำไปใช้แลกสิทธิพิเศษต่างๆ แล้ว Reward ในรูปแบบของโทเคนดิจิทัลยังจะมีคุณสมบัติในการใช้แทนเงินได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้งานที่อาจเคยมีประสบการณ์เก็บสะสม Reward จากแบรนด์ต่างๆ แต่ไม่เคยนำไปใช้เลยก็จะสามารถนำไปใช้แทนเงินได้ด้วยการแลกกลับเป็นสกุลเงินดิจิทัลอื่น หรือเป็น Digital Money

     2. สะสมมูลค่ารอวันเติบโตแทนที่ Fiat Currency ซึ่งด้อยค่าลง

         หากมองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลมีแนวโน้มที่มูลค่าจะเติบโตขึ้นในอนาคต การถือครองสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิตคอยน์เอาไว้กับตัวบางส่วนเพื่อให้เงินในกระเป๋ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินระยะยาวเปรียบเสมือนกับการถือครองทองคำในรูปแบบ Physical อย่างเช่น ทองคำแท่ง ผู้ถือทองคำต่างมีความคิดว่ามูลค่าของทองคำมีแต่จะเพิ่มขึ้นจึงสะสมไว้และเมื่อต้องการใช้เงินก็นำไปขายเพื่อแลกกลับเป็น Fiat Currency แต่หากถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างบิตคอยน์ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับทองคำ หากมูลค่าเพิ่มขึ้นในอนาคตก็สามารถแบ่งบางส่วนมาใช้จ่ายได้
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup