10 เหตุผลที่ทำให้ Startup ล้มไม่เป็นท่า
Text : วันวิสา งามแสงชัยกิจ
ทุกวันนี้มีผู้เล่นหลายรายกระโดดเข้าสู่ตลาดหรือทำธุรกิจ Startup จำนวนมาก บ้างยังอยู่รอด บ้างก็ปิดตัวไป มาดูกันว่า 10 สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ Startup เหล่านั้นไปไม่รอดนั้นมีอะไรบ้าง
1.ไม่มีความต้องการในตลาด
ปัญหาใหญ่ที่ทำให้ธุรกิจอย่าง Startup ไปไม่รอดคือ การไม่เป็นที่ต้องการของตลาด จะมีอะไรเลวร้ายไปกว่าการที่ไม่มีลูกค้าหรือไม่สามารถดึงดูดลูกค้าให้สนใจโปรดักต์ได้ ซึ่งถ้าไม่มีแผนธุรกิจที่สามารถเข้ามาแก้จุดที่เป็นปัญหาและสร้างความยุ่งยากที่เกิดขึ้นนี้ได้ ก็เตรียมปิดฉากธุรกิจลงได้เลย
2.ขาดเงินทุน
เพราะเงินและเวลาเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดและต้องได้รับการจัดสรรอย่างรอบคอบ การหมดทุนเลยเป็นอีกปัญหาสำคัญที่จะนำไปสู่ความล้มเหลวของ Startup ได้ เพราะเมื่อธุรกิจขาดแคลนงบเพื่อใช้ในการหาจุดที่ลงตัวระหว่างโปรดักต์ที่สร้างขึ้นและตลาดที่เหมาะสมได้แบรนด์ก็ไม่สามารถที่จะไปต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ไม่มีทีมที่ดี
ทักษะและความสามารถที่หลากหลายของทีมงานถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำความสำเร็จมาสู่ Startup หากธุรกิจไหนขาดบุคลากรหรือทีมที่มีประสิทธิภาพก็ไม่น่าแปลกใจหากธุรกิจนั้นๆ จะไม่ประสบความสำเร็จ
4.ไม่สนใจการแข่งขัน
แม้ว่าจะมีการพูดอยู่บ่อยๆ ว่า Startup นั้นไม่ควรจะสนใจในเรื่องของการแข่งขัน แต่หากมองถึงความเป็นจริงแล้วจะเห็นว่ามีผู้เล่นหน้าใหม่จำนวนมากที่เข้ามาสู่ตลาด หรือแม้จะบอกว่าการหมกมุ่นอยู่กับการแข่งขันนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่การไม่สนใจในเรื่องนี้เลยกลับกลายเป็นอีกปัจจัยที่นำมาสู่ความล้มเหลวได้
5.การกำหนดราคา
การกำหนดราคาถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของความสำเร็จ ความยากคือต้องตั้งราคาโปรดักต์ให้สูงพอที่จะครอบคลุมต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายและต้องเป็นราคาที่จะดึงดูดลูกค้าได้ในขณะเดียวกัน หาก Startup ไม่สามารถที่จะหาความสมดุลในเรื่องนี้ได้อาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ธุรกิจนั้นไปไม่รอด
6.ผู้บริโภครู้สึกว่าโปรดักต์ไม่เป็นมิตร
สิ่งเลวร้ายมักเกิดขึ้นเสมอเมื่อธุรกิจไม่สนใจความต้องการและความจำเป็นของลูกค้าไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เพราะหากไม่มีลูกค้าธุรกิจนั้นก็ไม่สามารถไปต่อได้
7.ไม่มีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจน
ผู้ก่อตั้งที่ประสบความล้มเหลวต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการมีรูปแบบการทำธุรกิจนั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยการยึดติดอยู่กับการทำธุรกิจแบบช่องทางเดียวหรือไม่สามารถหาวิธีที่จะทำเงินได้นั้น จะทำให้นักลงทุนเกิดความลังเลใจและผู้ก่อตั้งก็ไม่สามารถที่จะได้เงินทุนมาใช้ในการทำธุรกิจซึ่งถือเป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้เกิดความล้มเหลวได้
8.ทำการตลาดไม่เป็น
การรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร ทำยังไงถึงจะเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้และทำให้คนเหล่านั้นกลายมาเป็นลูกค้าได้ในที่สุดนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำความสำเร็จมาสู่ ดังนั้นการไร้ความสามารถในการทำการตลาดจึงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Startup นั้นไปไม่รอดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Startup ที่สนใจแต่จะทำโปรดักต์แต่ไม่รู้วิธีที่จะโปรโมทหรือทำตลาด
9.ไม่สนใจลูกค้า
การไม่สนใจหรือรับฟังเสียงจากลูกค้าถือเป็นหายนะดีๆ สำหรับ Startup เพราะการมีมุมมองที่แคบและปิดหูปิดตาที่จะรับรู้ถึงฟีดแบคจากลูกค้าเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรงที่จะทำให้ล้มไม่เป็นท่า
10.ปล่อยโปรดักต์ช้าหรือเร็วเกินไป
การปล่อยโปรดักต์แบบไม่ถูกเวลาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการสั่นคลอนการทำธุรกิจ ถ้าปล่อยโปรดักต์ออกมาเร็วเกินไปลูกค้าก็จะคิดว่าสินค้านั้นยังไม่ดีพอและการที่จะทำให้คนเหล่านั้นกลับมาใช้สินค้าอีกอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีความประทับใจแรกที่ไม่ดี หรือถ้าออกโปรดักต์มาช้าเกินไป คุณก็จะพลาดโอกาสในการเปิดตลาด