Tech Startup

ส่อง Key Success ของสตาร์ทอัพ "Kollective" ที่ฉีกกฎการตลาดรีวิวสินค้าด้วย Data และ Technology

 

Text : Methawee T.

     ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Influencers คือคลื่นลูกใหม่ของการตลาดดิจิทัล แต่การทำแคมเปญ Influencers ในยุคปัจจุบัน แค่ส่งสินค้าให้คนดังโพสต์อาจไม่ได้ยอดตามที่คาดหวัง ซึ่ง วราพล โล่วรรธนะมาศ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Kollective สตาร์ทอัพด้าน Marketing ได้ใช้ Data และ Technology มาเล่าเบื้องลึกการทำ Influencer Marketing แบบหมดเปลือก

 

 

     ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว วราพลมองเห็นเทรนด์ Influencer Marketing ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด และเห็นช่องว่างของตลาด Influencers กลุ่ม Young Generation ที่ยังไม่มีคู่แข่ง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ความต้องการทางการตลาดพบว่า องค์กรต่างๆ มองหา Young Generation Influencers เพื่อเป็นสะพานเข้าถึงลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ จึงก่อตั้ง Kollective  

     “ต่อมาเรามองเห็นปัญหาในการทำ Influencer Marketing ที่หลายแบรนด์มองว่าแค่ส่งสินค้าให้คนดังโพสต์แล้วจบ แต่ในความเป็นจริงกระบวนการเลือก Influencers ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย การเลือก Key Message ที่ใช้ในการสื่อสาร การติดตามและวัดผลเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญเพื่อให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ลงทุน จึงทำแพลตฟอร์ม Kolify ที่ใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพ Influencer Marketing โดยปัจจุบันมี Influencers ในเครือข่ายจำนวนกว่า 30,000 คน”

 

 

     จากประสบการณ์ที่ทำงานร่วมกับลูกค้าและ Influencers วราพลเล่า Key Success 3 ข้อของ Kollective ที่ฉีกกฎการตลาดที่ใช้คนดังรีวิวสินค้าแบบเดิมๆ ว่า

  1. Strategic Communication ก่อนจะเลือก Influencers ต้องเข้าใจกลุ่มลูกค้าให้ชัดเสียก่อน หลังจากนั้นเลือกใช้ Keyword ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสื่อสารแล้วตรงใจ โดย Kollective ทำ In-depth Analysis และ Social Monitoring เพื่อเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อค้นหา Key Message ที่ใช่
  2. Media Ecosystem การจ้าง Influencers แต่ละครั้งต้องคิดให้ครบ เลือกใช้ Influencers ที่ตรงกับ Marketing Funnels ตั้งแต่ขั้น Awareness จนกระทั่งเกิด Traction นอกจากนั้นใช้ Assets และ Media ของ Influencers ที่จ้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  3. Influencers Collaboration ไม่ควรเลือกด้วยวิธีสุ่มเดา Kollective มีแพลตฟอร์มที่นำข้อมูลมาช่วยวิเคราะห์ประกอบการเลือก Influencers เพื่อคำนวณ Cost Per Click รวมถึงติดตามผลทำให้การทำแคมเปญครั้งต่อไปมีความแม่นยำมากขึ้น และลดต้นทุนการตลาด

 

 

     “ปัจจุบัน Influencers ส่วนมากอยู่ในกลุ่ม Celebrity หรือ Lifestyle ทำให้ความหลากหลายน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการของตลาด นอกจากนั้น Influencers Marketing ในอนาคต มีแนวโน้มเป็นโมเดล Pay Per Success ที่จ่ายค่าตอบแทนตามยอดขาย” วราพลกล่าวทิ้งท้าย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup