อุตสาหกรรมผลผลิตจากโคนมในตลาดโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะมีมูลค่ามากถึง 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2569 หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่สามารถผลิตได้คืออัตราสำเร็จในการผสมเทียมโคนม

     แต่สำหรับประเทศไทยปัญหาของเกษตรกรโคนมคือการไม่สามารถตรวจจับอาการเป็นสัดในโคนมได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้เกิดการผสมเทียมผิดพลาด โดยคาดการณ์ว่าการผสมเทียมโคนมผิดพลาดทำให้เกษตรกรเสียรายได้ประมาณ 266 ล้านบาทต่ออาการติดสัด 1 รอบในช่วงระยะเวลา 21 วัน

     KomilO (โคมิโล) คือชื่อของระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประกอบเป็นเซนเซอร์ 2 จุด ที่ติดตั้งบนตัวโคนม จุดแรกที่บริเวณหู และจุดที่สองบริเวณโคนหางเพื่อตรวจจับพฤติกรรมของโคนม ทำให้สามารถคาดการณ์รอบของการเป็นสัดในโคนมได้อย่างแม่นยำโดยอาศัยเทคนิคแมชชีนเลิร์นนิง และเพื่อให้เกษตรกรสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างสะดวกสบายระบบนี้ยังเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันซึ่งจะช่วยเก็บข้อมูลเฉพาะของโคนมแต่ละตัว จัดการเซนเซอร์ รวมถึงแจ้งเตือนเกษตรกรเมื่อโคนมมีอาการติดสัดและพร้อมสำหรับการผสมเทียม

     KomilO เป็นผลงานคิค้นพัฒนาการนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล จำนวน 6 คน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จุดมุ่งหมายของของนักออกแบบรุ่นใหม่เหล่านี้คือการสร้างโซลูชันที่ใช้ง่ายและสามารถเข้าถึงได้เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมของเกษตรกรไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและจำนวนมากขึ้น

     โดย KomilO ได้รางวัลชนะเลิศระดับชาติจากการประกวดรางวัล James Dyson Award จะทำให้โปรเจกต์ KomilO ได้รับเงินรางวัลจำนวน 222,000 บาทเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาต่อไป และจะเป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการประกวดรางวัล James Dyson Award ระดับนานาชาติ ซึ่งผู้เข้ารอบในการประกวดระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 12 ตุลาคมนี้

     นอกจาก KomilO แล้ว ยังมีอีก 2 นวัตกรรม ที่เป็นฝีมือเด็กไทยได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่