Tech Startup

รู้ให้ทัน! ความท้าทายของสตาร์ทอัพไทยในยุคที่เศรษฐกิจผันผวน

 

Text : Methawee T.

     นับเป็นความท้าทายฝีไม้ลายมือการบริหารโดยเฉพาะ Startup หน้าใหม่ เนื่องจากการเข้าถึงเงินทุนในยุคที่เศรษฐกิจผันผวนไม่ใช่เรื่องง่าย หลายกองทุนทยอยรัดเข็มขัด และเริ่มมองหา Startup ที่มี Traction และสามารถ Growth ได้มากกว่าลงทุนเสี่ยงดวงใน Startup ที่เพิ่งเริ่ม ซึ่งมีสถิติที่น่าสนใจจากสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย ที่ทำแบบสอบถามเจาะลึกปัญหาและอุปสรรคที่สมาชิกสตาร์ทอัพคิดว่าเป็นหัวใจที่ทำให้องค์กรเติบโตช้าและอาจไม่ถึงฝั่งฝัน

- 70.1 เปอร์เซ็นต์ขาดแหล่งเงินทุนทำให้ธุรกิจชะงัก

     ปัญหาหลักของ Startup ใน Stage ต่างๆ คือปัญหาเงินลงทุน เพื่อทำให้ Startup สามารถดำเนินการต่อไป แต่ปัญหาดังกล่าวรุนแรงมากขึ้นในกลุ่ม Early Stage ซึ่งส่งผลให้อัตราการปิดตัวของ Startup ใน Early Stage สูงขึ้น และอัตราส่วนในการเติบโตจาก Early Stage ไปยัง Growth Stage มีไม่มากเท่าที่ควร

 

- 40.2 เปอร์เซ็นต์ขาดบุคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี

     เนื่องจากฐานเงินเดือนในตำแหน่งเทคโนโลยีมีค่าจ้างที่สูง ประกอบกับบริษัทใหญ่ๆ มีกำลังในการจ้างงานและมีสวัสดิการที่ดึงดูดใจบุคลากรมากขึ้น ทำให้ Startup ด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ Deep Tech ประสบปัญหาในการดึงดูดบุคลากรในการขับเคลื่อนองค์กร

- 35.5 เปอร์เซ็นต์ขาดโมเดลธุรกิจที่สร้างรายได้และเติบโต

     สินค้าหรือบริการด้านนวัตกรรมที่ Startup คิดริเริ่มในหลายๆ ครั้งขาดวิธีหรือแผนการสร้างรายได้ ส่งผลให้มีรายรับไม่เพียงพอต่อรายจ่ายและต้องพึ่งพาการระดมทุน หรือบางกรณี Startup มีโมเดลที่รายได้เพียงพอต่อการอยู่รอด แต่ไม่สามารถเติบโตและขยายได้

- 34.6 เปอร์เซ็นต์ผู้บริหารเรียนรู้ทักษะต่างๆ ไม่ทันการเติบโต

     เมื่อบริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทักษะของคนในองค์กรโดยเฉพาะทีมบริหารต้องเติบโตตาม เนื่องจากการบริการ Startup ในแต่ละ Stage ต้องการทักษะที่แตกต่างกัน นอกจากนั้น Startup ยังต้องการทีมบริการที่มีทักษะที่แตกต่างกันเพื่อช่วยเสริมจุดแข็งและลดจุดอ่อน

 

- 31.8 เปอร์เซ็นต์ติดปัญหาเรื่องกฎระเบียบต่างๆ

     Startup ในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ FinTech มีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและข้อกฎหมาย จึงมีการริเริ่มการดำเนินการในรูปแบบ Sandbox เพื่อเป็นการทดลองโมเดลและรูปแบบการดำเนินการใหม่ๆ ที่ยังไม่มีข้อกฎหมายรองรับ

- 27.1 เปอร์เซ็นต์ติดปัญหาการขยายตลาดต่างประเทศ

     การเติบโตและขยายตลาดในต่างประเทศยังเป็นความท้าทายของ Startup แต่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากมูลค่าตลาดไทยมีขนาดไม่ใหญ่นักเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีประชากรจำนวนเยอะอย่างอินโดนีเซีย ที่มีมูลค่า 3.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 11.6 ล้านล้านบาท

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup