ตั้งชื่อแบรนด์ให้กับสินค้าและบริการถือเป็นด่านแรกๆ ที่ช่วยทำให้ลูกค้าได้รู้จักกับผลิตภัณฑ์ของเราและตัวตนธุรกิจมากขึ้น เราจึงนำเคล็ดลับการตั้งชื่อแบบง่ายๆ ชนิดที่หากได้ฟังแล้วช่วยหยุดลูกค้าได้ทันที
จมูกข้าวฮางงอกจากข้าวไทย 6 สายพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ Pop Rice ซีเรียลจากข้าวไรซ์เบอร์รีออร์แกนิก เซรั่มและ สบู่ข้าวไรซ์เบอร์รี คือตัวอย่างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากข้าว ของแบรนด์ “ข้าวคุณแม่” ที่คว้ารางวัลมาจากหลายเวที และมีรายได้ต่อปีอยู่ที่หลักล้านบาท!
Mini Rice Cracker เป็นแบรนด์ SME ที่ส่งออกไปยัง 7 ประเทศได้ภายในระยะเวลาเพียงครึ่งปี วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำเคียงข้างแบรนด์ระดับโลก และสร้างรายได้สูงถึงเดือนละหลักล้านบาท
บนชั้นวางในซูเปอร์มาร์เกตเกรดพรีเมียมในเซี่ยงไฮ้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เราจะเห็นข้าวแต๋น Mini Rice Cracker ขนมจากผู้ประกอบการ SME ไทยวางเคียงกับมันฝรั่งอบกรอบแบรนด์ดังจากทั่วโลกตั้งแต่ช่วงตุลาคมปี 2562 ที่ผ่านมา และทำตลาดต่อเนื่องไปในมาเก๊า เวียดนาม และกัมพูชาในเวลาไล่เลี่ยกัน
“สมชนะ กังวารจิตต์” นักออกแบบมือรางวัลระดับโลก ผู้ก่อตั้ง Prompt Design บริษัทออกแบบสัญชาติไทยที่สามารถคว้ารางวัลระดับโลกมาครองได้มากกว่า 70 รางวัล
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อโลกธุรกิจและชีวิตผู้คนมากขึ้น ยิ่งทำให้คนยุคนี้ห่างเหินกันมากขึ้น แบรนด์กับลูกค้าก็เช่นเดียวกัน นั่นเองที่ทำให้คุณค่าของ Human Touch หรือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ยิ่งทวีความสำคัญและเป็นเหมือนพลังวิเศษของแบรนด์ยุคนี้
คนไทยเราอาจคุ้นเคยกับข้าวกันดี เพราะเป็นอาหารหลักของชาติ แต่ในวันนี้ข้าวที่เรารู้จักอาจไม่ใช่เพียงแค่อาหารหลักของคนไทยเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว มีการนำข้าวมาผลิตเป็นสินค้าต่างๆ มากมาย กลายเป็นเมล็ดข้าวที่สามารถงอกเงยออกไปนอกนาได้ไกล
ทันทีที่สหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลง TPP โควต้าส่งออกข้าวไปญี่ปุ่นจำนวน 70,000 ตันของสหรัฐฯ ยุติลง ทำให้ส้มหล่นใส่ออสเตรเลีย ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคญี่ปุ่น เพราะใช้สารเคมีน้อยในการปลูก ได้คุณภาพ ที่สำคัญราคาต่ำ
ญี่ปุ่น แม้จะเป็นประเทศที่ต้องเผชิญกับภัยพิบัติต่างๆ อยู่เสมอ ซึ่งล่าสุดกำลังเจอพายุไต้ฝุ่นเชบีถล่มหนัก แต่หลังจากภัยพิบัติผ่านไป ก็มักจะมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเอาชีวิตรอดของญี่ปุ่นออกมาให้ได้เห็นกัน ซึ่งมีอะไรบ้างนั้นไปดูกัน
สินค้าชุมชน แม้จะเต็มไปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น วัตถุดิบชั้นดี แต่ส่วนใหญ่กลับขายไม่ได้ หรือขายได้แต่ราคาไม่ดี ด้วยเหตุนี้ ธรรมศาสตร์โมเดล จึงเป็นอีกโครงการที่เข้ามาช่วยยกระดับสินค้าชุมชน ให้กลายเป็นแบรนด์สุดเก๋ไก๋ สามารถเพิ่มมูลค่า และสามารถขายได้จริง
HappyFarmers เป็นหนึ่งในธุรกิจเพื่อสังคมด้านการพัฒนาชุมชน มุ่งเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจให้มากขึ้นระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค