ในบางครั้งการมาถึงของวิกฤตอาจทำให้บางธุรกิจถึงคราวล่มสลาย แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ธุรกิจที่ดิ้นรนต่อสู้ ได้ค้นพบหนทางสว่างที่เหมือนได้เกิดใหม่อีกครั้ง เช่นเดียวกับ “นกฟินิกซ์” ที่ก่อเกิดจากเถ้าถ่าน กลายเป็นธุรกิจที่สดใหม่และไฉไลยิ่งกว่าเก่า
การออกมานำเสนอรายงาน จากสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ที่ย้ำว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และจะเริ่มเห็นการขยายตัวแบบช้าๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง คือ สัญญานบวกที่ผู้ประกอบการ SME คงพอใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง
สถานการณ์อาจสร้างวีรบุรุษ หรือพลิกชื่อเสียงของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักชั่วข้ามคืน แต่ไม่ใช่สำหรับกรณีของรองเท้าแบรนด์ O&B ที่ไม่หยุดมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า อดทนเก็บสะสมแต้มต่อเนื่อง เมื่อถึงวันฟ้าเปิด ยอดขายก็หลั่งไหลมาเป็นรางวัลแห่งความสำเร็จ
ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าเราจะมุ่งมั่น ตั้งใจ พยายาม สักเท่าไหร่ก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะประสบความสำเร็จได้ เพราะยังมีทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่างๆ รอให้รับมือและแก้ปัญหาอยู่อีกมากมาย
“ตลาดรถมือสอง” กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังได้อานิสงส์จากคนเปลี่ยนพฤติกรรมมาเดินทางโดยรถส่วนตัวเพราะกลัวไวรัส แต่ด้วยกำลังซื้อที่ลดลง ส่งผลให้ผู้คนชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ใหม่ และหันมาซื้อรถมือสองทดแทนรถป้ายแดงกันมากขึ้น
ถ้าพูดถึงยาน้ำแก้ไอน้ำดำที่ขึ้นชื่อ หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ “ชวนป๋วยปี่แปกอ” รวมอยู่ด้วยแน่นอน แต่รู้ไหมว่ายาจีนแผนโบราณจีนที่เข้ามาทำตลาดเมืองไทยราว 50 ปีก่อนนี้ มีจุดเริ่มต้นกำเนิดมาจากราชวงศ์จีนเมื่อ 200 กว่าปีก่อนทีเดียว แถมอยู่ดีๆ ไปกลายเป็นเมนูชานมไข่มุกด้วย
“โรงแรมโฆษะ” จ.ขอนแก่น อยู่มานานถึง 53 ปี ในวันที่ต้องประสบกับวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจของพวกเขาต้องหยุดชะงัก ที่มาของการพลิกกลยุทธ์มาขาย "ไก่ย่างโฆษะ เพื่อสุขภาพ" ในแบบแช่แข็งพร้อมรับประทาน เพื่อเลี้ยงดูพนักงาน และพยุงธุรกิจให้ไปต่อ
“เจ๊ง้อ-ณชนก แซ่อึ้ง” คืออดีตช่างตัดเสื้อที่เริ่มธุรกิจในวัยกว่า 60 ปี มีร้านแรกเมื่อปี 2542 ตรงสี่พระยา ผ่านมา 21 ปี ครัวเจ๊ง้อขยายมามี 11 สาขา ขณะที่สาขา สุขุมวิท 20 ยังเป็นร้านแนะนำจาก MICHELIN Guide Thailand อีกด้วย
ในวันที่เกิดวิกฤตไวรัสโควิด-19 ความรู้และประสบการณ์ในอดีตกลายเป็นเรื่องเก่าที่เอามาใช้แก้สถานการณ์ไม่ได้ ท้าทายการทำธุรกิจของ SME ถึงเวลาพลิกตำราสู้เพื่อก้าวข้ามวิกฤตไวรัส ด้วยการคิดอย่าง..เสือ
วิกฤตโควิด-19 เล่นงานผู้คนไปทั่วโลก ส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่มไทยต้องหยุดชะงัก แบรนด์ต่างๆ เริ่มเลื่อน ลดจำนวน และยกเลิกผลิตสินค้า เมื่อประเทศเข้าสู่การล็อกดาวน์ ผู้คนอยู่บ้านไม่จำเป็นต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่ ยิ่งซ้ำเติมวิกฤตหนักให้กับพวกเขา
สหกรณ์การเกษตรท่ายาง คือแหล่งที่มาของกล้วยหอมทองวันละ 50,000 ลูก ป้อนเซเว่นฯ ส่งขายญี่ปุ่นปีละ400 ตัน และยังทำตลาดอย่างงดงาม ท่ามกลางผลผลิตที่สูงถึงเดือนละกว่า 500 ตัน! มารู้จักพวกเขาให้มากขึ้นกัน
ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับวิกฤต แต่อุตสาหกรรมอาหารกลับได้รับอานิสงส์ ทว่าความหอมหวานนี้จะยั่งยืนแค่ไหน หลังจากนี้ต้องปรับเกมรุกอย่างไร อุตสาหกรรมอาหารไทยถึงจะกลับมาแข็งแกร่งได้ในตลาดโลก