Digital Marketing

Mass VS Niche ตกปลาทั้งทีต้องตกให้ถูกบ่อ

Text : ธนิสา วีระศักดิ์ศรี




Main Idea
 
  • Mass Marketing และ Niche Marketing การตลาดสองรูปแบบนี้มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกก่อนว่าสินค้าของเราเหมาะกับการตลาดแบบไหน
 
  • ถ้าหากยังไม่รู้ว่า แบรนด์เราควรอยู่ตรงไหน ให้ลองมองก่อนว่าสินค้าเราผลิตมาเพื่ออะไร เพื่อใคร เป้าหมายของแบรนด์เราคืออะไร เงินทุนของเรามีเท่าไหร่  
 


     มีคนหลายคนถามกันเยอะมากว่า Mass Marketing และ Niche Marketing การตลาดสองรูปแบบนี้ต่างกันอย่างไร และเลือกวิธีไหนถึงจะดีกว่ากัน ให้ลองนึกภาพตามว่า หากคุณจะตกปลามีบ่อปลาอยู่สองบ่อให้คุณเลือกระหว่างบ่อใหญ่และบ่อเล็ก ซึ่งทั้งสองบ่อมีปลาจำนวนเท่ากัน บ่อไหนคุณมีโอกาสที่จะตกได้ปลาขึ้นมาได้อย่างแน่นอน? และในเมื่อทุกคนไม่ใช่จะเป็นลูกค้าเรา ดังนั้น ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าสินค้าของเราเหมาะกับการตลาดแบบไหน


     Mass Marketing คือ การทำการตลาดที่กลุ่มลูกค้ากว้าง คนซื้อเยอะ และผู้ขายก็เยอะเช่นเดียวกัน ใช้การผลิตสินค้าจำนวนมาก แต่ราคาที่ตั้งไม่สามารถจะสูงกว่าคนอื่นได้ ต้องใช้เงินลงทุนที่มากเพื่อให้คนเห็น รู้จัก ชอบ และซื้อ ดังนั้น งบประมาณในการทำโฆษณาจึงสูง เช่น เสื้อผ้า กระเป๋าที่คุณสมบัติไม่ได้พิเศษ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้อยู่แล้ว แค่ผลิตในจำนวนมากและขายให้กับคนทุกคน ที่สำคัญคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันก็จะแข่งขันกันที่ต้นทุน วัตถุดิบ ราคา เจ้าไหนราคาถูกกว่าก็จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ดังนั้น การตั้งราคาจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะลูกค้าจะดูที่ราคาในการตัดสินใจจะซื้อ ไม่ซื้อสินค้านั้นๆ


     Niche Marketing คือ การทำการตลาดที่เจาะไปที่คนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มคนที่มี Passion ในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ นั่นทำให้แบรนด์สามารถตั้งราคาได้ในราคาสูงเพราะแบรนด์มีความ Unique และสินค้ามีความพิเศษจากแบรนด์ทั่วไป  ดังนั้น กลุ่มลูกค้าจะมีความเป็นกลุ่มที่ชัดเจน เช่น สินค้าของกลุ่มคนชอบความออร์แกนิก ตลาดของคนรักรองเท้าสนีกเกอร์ เป็นต้น ดังนั้น หากจะทำ Niche Marketing ให้ประสบความสำเร็จ ต้องขยันหาสิ่งใหม่ๆ และดึงจุดเด่นของแบรนด์ออกมาให้ได้ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว  





     ทั้งนี้ เราสามารถแบ่งได้หลักๆ 5 ส่วน คือ

     1. กลุ่มลูกค้าเฉพาะ ที่เน้นการขายให้คนเพียงบางกลุ่ม เช่น ผงโกโก้ผลิตเพื่อร้านกาแฟร้านนี้เท่านั้น

     2. Geographic การขายเพียงแค่ประเทศ จังหวัด บางที่เท่านั้น เช่น หนังสือเรียนที่เราเห็นกัน Sell only in US เป็นต้น

     3. สินค้าบางบริษัทผลิตแค่สินค้าชิ้นเดียว เช่น แปรงสีฟันอัตโนมัติ 

     4. บริการที่ให้บริการที่ต่างจากที่อื่น  

     5. ช่องทางการขายสินค้าหลายชนิดที่เราเห็นมักจะเขียนว่า Limited only at สถานที่นั้นๆ เช่น สินค้าบางยี่ห้อเราจะเห็นแค่ที่เซเว่น อีเลฟเว่น


     ถ้าหากยังไม่รู้ว่า แบรนด์เราควรอยู่ตรงไหน ให้ลองมองก่อนว่าสินค้าเราผลิตมาเพื่ออะไร เพื่อใคร เป้าหมายของแบรนด์เราคืออะไร เงินทุนของเรามีเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม เรายังอยากสนับสนุนให้แบรนด์ที่เกิดใหม่เริ่มต้นจาก Niche Market ก่อนเพราะถึงเป็นตลาดเล็กๆ ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางโตได้ เพียงแต่เราต้องจับให้ถูกจุดความต้องการของลูกค้าที่เราตั้ง เอาไว้ให้ได้ ยกตัวอย่าง Starbucks ก็เริ่มตั้งต้นจากกลุ่ม Niche Market เจาะเฉพาะกลุ่มคนที่ชอบดื่มกาแฟ และใช้ Strategy ทางการตลาดต่างๆ จนทำให้แบรนด์ดังได้ขนาดนี้  
 





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup