Digital Marketing

7 เทคนิค! ทำคอนเทนต์ออนไลน์อย่างไรให้ธุรกิจได้ไปต่อ

Text : Marisa S.




Main Idea
 
  • ทุกวันนี้การตลาดด้านออนไลน์มีการแข่งขันกันสูง การสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ
 
  • มี 7 เทคนิคในการจัดการคอนเทนต์ง่ายๆ มาฝาก ซึ่งจะช่วยให้คอนเทนต์การทำการตลาดออนไลน์ง่ายขึ้น
 

 

    เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าโซเชียลมีเดียมีความสำคัญกับความสำเร็จของธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่  และนี่คือเคล็ดลับการใช้เครื่องมือบนโซเชียลมีเดียจัดการกับแต่ละคอนเทนต์ให้มีประสิทธิภาพ
 

     1. การกำหนดเวลาทำให้ชีวิตง่ายขึ้น

         เคยมีคนกล่าวไว้ว่า Content is King การสร้างคอนเทนต์จึงเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะกับธุรกิจอะไรก็ตาม แน่นอนว่าสมัยนี้มีหลายเครื่องมือในแพลตฟอร์มที่ทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดเวลาลงคอนเทนต์ได้ล่วงหน้าและทำให้ผู้ใช้งานได้มีเวลาเพิ่มขึ้น ต่างจากการที่ต้องมาคอยนั่งโพสต์ด้วยตนเอง ดังนั้นลองมองหาแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับสไตล์การจัดการของแต่ละคน เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าในแต่ละวันลืมโพสต์คอนเทนต์ไปหรือเปล่า ที่สำคัญทำให้แบรนด์ดูมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา โดยในแต่ละวันควรมีโพสต์ไม่น้อยกว่า 1 คอนเทนต์
 

     2. อย่าประมาทพลังของแฮชแท็ก

         แฮชแท็กเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ยอดเยี่ยมในการเข้าถึงผู้คนใหม่ๆ บนโซเชียลมีเดีย  แต่ก็มีข้อควรระวังอย่างเช่นการใช้แฮชแท็กคำธรรมดาทั่วไปหรือคำที่เป็นสากลอย่าง #love หรือ #summer อาจทำให้คอนเทนต์ที่เราลงไปนั้นผสมไปกับคอนเทนต์ของคนอื่น การสร้างแฮชแท็กเฉพาะจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด
 

     3. เพิ่มยอดผู้เข้าชมผ่านแพลตฟอร์มที่หลากหลาย

        การเขียนบล็อกหรือบทความบนออนไลน์เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างชุมชนออนไลน์ของธุรกิจและทำให้ผู้ติดตามมีส่วนร่วมด้วย แต่อย่าเลือกโพสต์ลงแค่บนเว็บไซต์อย่างเดียว การเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มอื่นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มอัตราการเข้าชมเว็บไซต์ ลองกำหนดเวลาโพสต์คอนเทนต์และใส่ลิงค์ที่คลิกไปถึงบล็อกหรือบทความได้  สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ชมค้นหาโพสต์ของเราได้อย่างง่ายดายและยังทำให้พวกเขามีส่วนร่วมได้มากขึ้น
 

     4. เป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับ Micro-influencers

        การตลาดที่มี Influencers กำลังกลายเป็นที่นิยม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่ดังระดับดารายอดนิยมที่มีค่าตัวสูง เพียงแค่หา Micro-influencers ที่มีความเชียวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ คนเหล่านี้อาจมีผู้ติดตาม 2,000 คนถึง 50,000 คนบนสื่อออนไลน์ก็มากพอที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้แบรนด์ของเราเพิ่มยอดขายหรือยอดผู้ติดตามแบบเฉพาะกลุ่มอีกด้วย ลองค้นหาแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของตัวเองแล้วมองหาผู้ใช้งานที่มียอดติดตามสูงพอสมควร บางคนอาจทำงานเพื่อเงินอย่างเดียว และบางคนอาจรับตัวสินค้าเพื่อแลกกับการโพสต์ ค้นหา Micro-influencers ที่หลงใหลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ของเรา  
 

     5. เข้าใจถึงช่วงเวลาต่างๆ ในการโพสต์

         การคิดว่าจะโพสต์เลยหรือไม่โพสต์ดีนั้นเป็นคำถามที่เราทุกคนเผชิญเมื่อตัดสินใจว่าจะกดเผยแพร่ในช่วงเวลานั้นๆ เลยดีหรือไม่ ดังนั้นก่อนโพสต์ลองค้นหาข้อมูลช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการโพสต์ในแต่ละแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่เวลาที่แน่นอน ยังมีวันหยุดหรือวันเหตุการณ์สำคัญอีกที่ช่วงเวลาการใช้งานของผู้ชมแตกต่างกันออกไป อีกทั้งการเกิดวิกฤตโควิด-19 ทำให้ช่วงเวลาต่างจากเดิมอีกด้วย ให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และปรับกลยุทธ์การหาช่วงเวลาโพสต์คอนเทนต์ลงบนโซเชียลมีเดียเสมอ
 

     6. สนใจกับการมีส่วนร่วมของผู้ชมให้มากขึ้น

         Vanity Metrics คือค่าวัดบางอย่างที่ไม่ได้ส่งผลตรงๆ ต่อการเติบโตของธุรกิจ เช่นยอดผู้ติดตามหรือยอดคนกดไลก์ เป็นเรื่องง่ายมากที่สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ผู้ประกอบการนำไปวัดเป็นความสำเร็จของธุรกิจตัวเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วการทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมควรเป็นเรื่องที่ต้องสนใจเป็นอันดับแรก การกดไลก์หลายร้อยครั้งบนโพสต์โซเชียลมีเดียสามารถแสดงให้เห็นว่าโพสต์นั้นมีประสิทธิภาพที่ดี แต่การมีส่วนร่วมเช่นการแสดงความคิดเห็นหรือบทสนทนาต่างๆ นั้นแสดงให้เห็นว่าผู้ชมสนใจในบริการหรือสินค้าและข้อมูลที่โพตส์อย่างแท้จริง 
 

    7. ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มที่มีฟีเจอร์ Stories

         ได้เวลาเพิ่มฟีเจอร์ Instagram, Facebook และ YouTube Stories ลงในชุดเครื่องมือสำหรับการจัดการแบรนด์ได้แล้ว แทนที่จะเป็นโพสต์ข้อความธรรมดาหรือวิดีโอผ่านทามไลน์ตามปกติบนฟีดของช่องแล้วหลังจากนั้นก็หายไปเลยเป็นเวลา 24ชม. จำไว้ว่าช่องทางพวกนี้เป็นเหมือนช่องทางที่มีความสำคัญ เป็นช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งานเพื่อส่งสารกับผู้ติดตามของช่องหรือเพื่อรวบรวมคำติชมทั้งหลายและยังช่วยส่งเสริมธุรกิจด้วยวิธีการใหม่ๆ เหนือสิ่งอื่นใดแพลตฟอร์มพวกนี้ฟรี

        ลองโพสต์ Stories เกี่ยวกับแบรนด์สัก 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์และเพิ่มสิ่งที่ผู้ชมสามารถโต้ตอบได้เช่นคำถาม โพลหรือเปิดให้ผู้ชมส่งสติ๊กเกอร์ให้กับโพสต์ๆ นั้นแต่ต้องระวังเรื่องการโพสต์ให้ดี อย่าทำให้ Stroies เป็นจุดไข่ปลา ไม่มีผู้ชมคนไหนจะมานั่งดูทั้งหมดได้ เพราะพวกเขาบางคนก็จะกดปัดผ่านไป ให้พยายามโพสต์ Stories พอประมาณต่อวันเพื่อแชร์เนื้อหาและอย่าลืมทำคอนเทนต์ที่ทำให้พวกเขามีส่วนร่วมด้วย
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup