Digital Marketing

เปลี่ยนแล้วต้อง Strong ! 5 สเต็ป พลิกงานเสริมให้กลายมาเป็นงานประจำ

Text : Marisa S.



 
Main Idea
 
  • หลายคนมีงานเสริมเพื่อเป็นแหล่งรายได้พิเศษ แต่ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ไม่มีใครรู้ว่างานประจำที่ทำอยู่จะถูกเลิกจ้างไปในวันไหน ดังนั้นงานเสริมที่ว่าถ้าปรับให้เป็นงานประจำเพื่อหารายได้เพิ่มขึ้นก็กลายเป็นความจำเป็น
 
  • อย่างไรก็ตาม การจะปรับงานเสริมให้เป็นงานประจำก็ต้องมีวิธีการเพื่อที่จะได้ไม่พลาดพลั้ง!
 




     จากช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้รู้เลยว่าไม่ว่าจะอุตสาหกรรมไหน การเผชิญหน้ากับสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยแบบนี้ยากที่จะทำให้ไปรอดได้ ดังนั้นการเปลี่ยนให้งานเสริมที่ทำอยู่กลายมาเป็นงานประจำแบบเต็มตัวไป ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่กำลังต้องการรายได้เพิ่มขึ้น และนี่คือ 5 ขั้นตอนในการเปลี่ยนงานเสริมให้กลายมาเป็นงานประจำแบบเต็มตัว
 

     1. ประเมินความต้องการ

         ก่อนที่จะเริ่มต้นขยับจากงานเสริมให้เป็นงานประจำ ลองถามตัวเองก่อนด้วยว่าสินค้าและบริการของเราได้รับความนิยมมากพอที่จะเปลี่ยนมาเป็นงานประจำแล้วหรือไม่? และต้องรู้ด้วยว่าเราอยู่ในจุดที่การตลาดของแบรนด์สามารถขยายไปไกลได้อย่างง่ายโดยไม่ต้องใช้จ่ายทรัพยากรอะไรมากมายเพิ่มเติม โดยต้องไม่ลืมที่จะศึกษาการตลาดอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการทำธุรกิจผ่านออนไลน์ที่เป็นช่องทางที่กำลังได้รับความนิยม ซึ่งอาจจะต้องยอมจ่ายค่าโฆษณาบ้างเพื่อดึงดูดลูกค้าหน้าใหม่ให้สนใจสินค้าของเรามากขึ้น 


     2. วางรากฐานทางการเงิน

         ถ้าหากว่ายังมีเงินเดือนจากงานประจำอยู่ ให้ประหยัดเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงสำหรับการทำงานเสริมและงานจะไม่หนักมากไปด้วย ตั้งเป้าเรื่องการออมที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย 3-6 เดือน รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อขยายตลาดของงานเสริม เพราะเราไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าจะออกจากงานประจำตอนไหน การประหยัดเงินจำนวนมากอาจทำให้ชีวิตลำบากขึ้นเล็กน้อย แต่ลองลดจำนวนเงินที่ใช้ลงเพื่อเริ่มสะสมเงินกองทุนฉุกเฉินดู เพียงแค่เก็บ 2% ของเงินเดือนก็เพียงพอแล้ว สำหรับสำรองใช้ในวันที่ต้องใช้เงินฉุกเฉินขึ้นมาจริงๆ ถึงเงินเก็บจะไม่มากนักแต่การรู้วิธีใช้เงินฉุกเฉินนั้นเป็นอีกหนึ่งอย่างที่จำเป็นมาก ๆ


     3. เริ่มขยายการเข้าถึงแต่อย่าทำแบบขาดสติ

        ไม่จำเป็นต้องมีออฟฟิศที่สุดแสนจะแฟนซีหรือผู้ช่วยคนใหม่ถึง 3 คน แต่ให้มองหาว่าต้องการอะไรเพิ่มเติมให้กับสินค้าเพื่อที่จะขยายการรับรู้ไปถึงลูกค้าคนอื่นๆ ดูที่ที่จะสามารถขยายการเข้าถึงและวิธีการที่จะเข้าถึงพวกเขาให้ได้ จากนั้นก็เพิ่มการตลาดและโฆษณาให้กับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ลงไป


     4. ปรับปรุงแก้ไขระบบ

         การดึงผู้คนเข้ามาในธุรกิจของเรามากขึ้นแน่นอนว่ามันอาจเกิดปัญหาได้ถ้ายังมีระบบการทำงานที่ไม่ดีพอจะรองรับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ลองเพิ่มผู้ช่วยเสมือน ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประเภทการจัดการด้านบัญชี หรือสายด่วนบริการลูกค้าเพื่อให้ช่วยจัดการกับความต้องการของลูกค้าคนใหม่ๆ และมีข้อกำหนดด้านการบริหารที่เพิ่มขึ้น


     5. สร้างการรับรู้ให้ทั่ว

         สุดท้ายนี้ทำให้โลกเห็นว่าธุรกิจของเรากำลังเติบโต ลงคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียแบบวิดีโอเพื่อให้พวกเขาเห็นว่าใครที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์ โพสต์บ่อยครั้งและโต้ตอบกับผู้คนที่กำลังมองหาสินค้าของเรา ทำให้พวกเขามีส่วนร่วมเยอะๆ และทำให้เห็นว่าเราได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ แล้วแบรนด์จะเป็นที่รู้จักมากขึ้น
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup