Digital Marketing

สรุปมาให้แล้ว โมเดลธุรกิจและวิธีหารายได้สไตล์ Startup




     เพราะการทำธุรกิจแบบ Startup มักเป็นธุรกิจที่เกิดจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาหรือธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้ รูปแบบ Business Model ของธุรกิจ Startup แบ่งเป็น 4 รูปแบบหลักๆ ดังนี้


    1. E-Commerce

     เป็นโมเดลที่เรียบง่าย ซึ่งก็คือการขายของผ่านช่องทางออนไลน์นั่นเอง เพียงแต่การทำ E-Commerce อาจจะทำได้หลายรูปแบบเช่น การหาสินค้าหรือนำเข้าสินค้ามาดูแลและขายเองผ่านออนไลน์ หรือการทำเป็นแพลตฟอร์มสื่อกลาง ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
 




     2. Marketplace

     อีกรูปแบบที่เป็นการสร้างธุรกิจให้เป็น แพลตฟอร์มตรงกลางซึ่งอาจจะคล้ายๆ กับ E-commerce บางราย โดยจะรวบรวมสินค้าหรือบริการต่างๆ (Supply) จับคู่กับความต้องการ (Demand) ซึ่งมักเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่มีใครทำ สร้างให้เกิดเป็นการใช้บริการในรูปแบบใหม่ๆ ที่ให้ความสะดวกสบายในการใช้งานมากยิ่งขึ้น

     รูปแบบธุรกิจ Market Place นี้อาจจะมีความยากในตอนเริ่มต้นว่าจะเริ่มที่ของที่นำมาขาย (Supply) หรือควรจะเริ่มที่ผู้ใช้งาน (Demand) เพราะหากของที่นำมาขายในระบบไม่น่าสนใจ จำนวน User ที่เข้ามาใช้งานก็จะไม่เติบโต ส่งผลต่อคนที่จะเข้ามาขายเพิ่มเติมในอนาคต ซึ่งการที่จะเริ่มต้นอาจจะต้องเริ่มพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ทั้งของที่นำมาขายหรือให้บริการในระบบและการขยายการเติบโตของ User
 




     3. Software platform

     รูปแบบที่ธุรกิจ Startup สร้างโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันขึ้นมาเองที่ให้บริการอะไรบางอย่างอาจจะผ่านมือถือหรือผ่านเว็บไซต์ก็ได้ เพื่อสร้างความสะดวกสบายหรือแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันซึ่งในรูปแบบนี้มักจะเป็นการให้บริการแบบ Freemium คือเป็นบริการฟรีในฟีเจอร์เริ่มต้น และจะมีการคิดเงินเมื่อต้องการบริการเพิ่มเติมโดยอาจจะมีให้เลือกหลายแพ็กเกจ ซึ่งมักจะคิดค่าบริการเป็นรายเดือน


     4. User-Generated Content (UGC)

     เป็นรูปแบบที่ส่วนใหญ่ใช้กับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เน้นพวก Media ผลิต Content หรือผลิตสื่อต่างๆ ที่ให้ User หรือคนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตเนื้อหาขึ้นเอง ที่เราคุ้นเคยกันดีเช่น Facebook, Youtube, Instagram โดยรายได้ส่วนใหญ่จากรูปแบบนี้มักมาจากค่าโฆษณา หรือการแบ่งรายได้กันกับกลุ่มผู้สร้าง Content ซึ่งเมื่อมี User เข้ามาร่วมในแพลตฟอร์มจำนวนมากจนเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่และมีเนื้อหาที่ผู้คนติดตามกันเองจากกลุ่ม User ที่สร้างขึ้น ทำให้มีโอกาสที่ธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นสนใจมาลงโฆษณา รวมถึงบางธุรกิจที่ทำแพลตฟอร์มที่เปิดให้ User มาสร้างเนื้อหาที่สามารถสร้างรายได้เองได้





     สำหรับรูปแบบการสร้างรายได้สามารถแบ่งได้ดังนี้


     1. Product /Asset Sale) รายได้จากการขายสินค้า
 
     2. Renting รายได้จากการให้เช่าสินค้า เช่น เช่ารถ หรือ Coworking Space

     3. Transaction Fee ส่วนใหญ่มักเป็นบริการที่ให้บริการและเรียกเก็บเงินเป็นครั้งๆ ตามความต้องการใช้งาน ซึ่งอาจจะเป็นโมเดลธุรกิจได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นมาร์เก็ตเพลซหรือ Sharing Economy ขึ้นอยู่กับ startup ว่าจะเก็บค่าบริการจากผู้ใช้ หรือหกจากผู้ให้บริการที่อยู่ในแพลตฟอร์ม เช่น airbnb, Grab





     4. Advertising การเก็บรายได้จากโฆษณา เช่น Google, Facebook

     5. Subscription Fee การเก็บค่าสมาชิกเพื่อให้บริการ อาจตั้งราคาเป็นหลายแพ็กเกจ เช่น Dollar Shave club บริการส่งมีดโกนหนวดให้ทุกเดือน

     6. Freemium เป็นบริการให้ฟรี แต่จะมีการเรียกเก็บเงินเมื่อต้องการใช้บริการ feature เพิ่มพิเศษ 
 

     สำหรับโมเดล Subscription Fee กับ Freemium นั้นมักมีการนำมาใช้คู่กัน คือให้ใช้ฟรีก่อนจำนวนหนึ่ง ถ้าต้องการใช้บริการเพิ่มเติมก็มีแพ็กเกจให้เลือกตามเหมาะสม
 

Cr: SET Your Startup Business Guide: เริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพด้วย Design Thinking และ Lean Canvas


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup