Digital Marketing

7 เทคนิคพรีเซนต์งานที่คุณควรรู้




เรื่อง     แมนพาวเวอร์
            recruitmentthailand@manpower.th.com

    ในการเรียนหรือการทำงาน เรามักต้องพรีเซนต์ต่างๆงานอยู่เสมอ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความถนัดในด้านนี้ ดังนั้นแมนพาวเวอร์จึงได้รวบรวม 7 เทคนิคสำคัญเพื่อการพรีเซนต์งานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1.       เริ่มด้วย “ทำไม”
    ควรเริ่มต้นการนำเสนอผลงานของคุณด้วยเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ รวมทั้งข้อดีและประโยชน์จากการจัดทำผลงานนี้ เพราะคนส่วนมากอาจไม่สนใจว่าคุณทำอะไร แต่อาจสนใจว่าคุณ ทำเพราะอะไร และ มีประโยชน์อย่างไร

2. ทำความรู้จักกับกลุ่มผู้ฟัง
    การศึกษาข้อมูลของกลุ่มผู้ฟังและรู้จักพวกเขาให้ดีพอนั้นจะเอื้อประโยชน์เป็นอย่างมากในการนำเสนอและโน้มน้าวผู้ฟังหากคุณรู้ว่าพวกเขาเชื่อและสนใจในสิ่งใดบ้าง ทั้งนี้ยังรวมถึงสไตล์การพูดที่ควรปรับให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังด้วยเช่นกัน

3. นำเสนอด้วยภาพและคงความเรียบง่าย
    ควรใช้ภาพเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลแทนข้อความยาวๆและตัวเลขทางสถิติต่างๆ เพราะข้อมูลที่คุณต้องการนำเสนอนั้นจะเป็นที่จดจำมากกว่าหากเป็นภาพที่น่าสนใจ และควรหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลที่มากเกินไป พยายามใช้ข้อความในแต่ละสไลด์ให้ กระชับและชัดเจน

4. บอกเล่าด้วยเรื่องราว
    การพรีเซนต์งานด้วยข้อมูลหนักๆและตัวเลขทางสถิติอาจจะทำให้คุณดูมีความรู้ แต่แน่นอนว่าอาจไม่มีใครจำสิ่งที่คุณพูดได้ ในทางกลับกัน การบอกเล่าด้วยเรื่องราว อารมณ์ และมุ่งเน้นความสนใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้ผู้ฟังจดจำได้ดีกว่า นอกจากนั้นแล้ว คุณไม่ควรอ่านจากสไลด์หรือสคริปท์โดยตรง แต่ควรใช้เพียงโน๊ตสั้นๆและเล่าด้วยจังหวะที่เป็นธรรมชาติ

5. ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเสมอ
    หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “Practice makes perfect” กันมาแล้ว ฉะนั้นคุณควรฝึกซ้อมการพรีเซนต์ให้มากเท่าที่คุณทำได้ พร้อมทั้งทบทวนเนื้อหาและจดจำลับดับของสไลด์ให้ดี คุณอาจใช้วีดีโอบันทึกภาพขณะที่ฝึกซ้อมเอาไว้ เพื่อดูจุดบกพร่องและนำมาแก้ไขต่อไป

6. ลองใช้กฎ “10 นาที”
    ผู้ฟังอาจหมดความสนใจหากคุณพูดนานเกินไป ลองใช้กฎ “10 นาที” มาปรับใช้กับการพรีเซนต์งานของคุณ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนไม่ควรพูดนานเกิน 10 นาที จากนั้นอาจเว้นด้วยการให้รับชมภาพประกอบ หรือวีดีโอ แล้วจึงนำเสนอเนื้อหาในส่วนถัดไป

7. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง
    หากคุณพูดเพียงคนเดียวเป็นเวลานานๆ ผู้ฟังอาจเกิดความเบื่อหน่ายได้ ฉะนั้นคุณอาจลองให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมโดยการเปิดโอกาสให้ออกความเห็นหรือตั้งคำถามบ้าง
            
    เพียงเท่านี้คุณก็สามารถนำเกร็ดความรู้ที่นำมาฝากไปปฏิบัติได้  การวางแผนและการเตรียมตัวก็จะง่ายมากขึ้น  นี่เป็นแค่เกร็ดความรู้ส่วนหนึ่งในการเตรียมตัวสู่อนาคตการทำงานในโลกกว้าง