LINE SHOPPING ปลดล็อกข้อจำกัดการขายออนไลน์เดิมๆ ช่วยพ่อค้าแม่ค้าไทยปั้นยอดขายโตไม่หยุด
73% ของคนไทยทั้งประเทศใช้ LINE เป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมและความเชื่อมั่นในแอปฯ นี้ ดังนั้น จึงไม่แปลกใจที่ LINE SHOPPING ซึ่งเป็น Social Commerce ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ จะมียอดการใช้เพิ่มสูงขึ้นตลอด 3 ปีที่ผ่าน โดย ณ ปัจจุบัน มีผู้ใช้งานต่อเดือนถึง 12 ล้านคน มีจำนวนร้านค้ารวมกว่า 3.7 แสนร้านค้า
ยากที่จะปฏิเสธ ถึงพฤติกรรมการช้อปปิงของคนไทยที่แตกต่างจากนักช้อปประเทศอื่น นั่นคือนักช้อปไทยชอบแชท สอบถามรายละเอียดจากร้านค้าก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งไม่เพียงจะช่วยทำให้การช้อปนั้นง่ายขึ้น หากยังช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าจะได้สินค้ามีคุณภาพตรงความต้องการอีกด้วย และนี่จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ Social Commerce ของไทยได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากข้อมูลที่ Update ขึ้น โดย 62% เป็นสัดส่วนของ Social Commerce หรือการค้าขายบนโซเชียลมีเดียที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีการติดต่อกันโดยตรง ซึ่ง LINE SHOPPING ก็ถือว่าอยู่ในส่วนนี้ และอีก 38% มาจากแพลตฟอร์มอีมาร์เกตเพลช และเว็บไซต์อื่นๆ
LINE SHOPPING ไม่เพียงเป็น Social Commerce ที่ผู้บริโภคได้มีปฏิสัมพันธ์กับร้านค้าหรือแบรนด์โดยตรง แต่ด้วยความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าและร้านค้าไทยเป็นอย่างดี จึงนำความต้องการและปัญหาที่ร้านค้าต้องเจอ มาพัฒนา LINE SHOPPING ให้ตอบโจทย์ความต้องการคนไทยได้มากที่สุด ด้วยการสร้างระบบง่ายๆ ที่แม้จะเป็นแม่ค้ามือใหม่เพิ่งเริ่มต้นก็สามารถทำได้ รวมถึงมีระบบสนับสนุนเพื่อช่วยให้การขายผ่าน LINE SHOPPING มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
LINE SHOPPING
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ผู้ประกอบการรายย่อยได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ หลายรายปรับตัวจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็หันมานิยมซื้อสินค้าบนออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันบนสนามนี้ดุเดือดจนนำไปสู่สงครามราคา ซึ่งยิ่งทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเดือดร้อนอย่างหนัก
ลองนึกภาพดูว่าหากแบรนด์เปิดร้านบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ก็ยังต้องอาศัยช่องทางโซเชียลมีเดียในการสร้างแบรนด์ให้ลูกค้ารู้จักมากขึ้น เพื่อหวังให้มีลูกค้ามาสั่งซื้อสินค้าบนอีมาร์เกตเพลสอยู่ดี ซึ่งแม้จะมีระบบสำหรับการซื้อขาย แต่แพลตฟอร์มอีมาร์เกตเพลสก็ไม่สามารถเก็บฐานลูกค้าได้ แถม Interface ก็แสดงให้สินค้าของร้านค้าวางเปรียบเทียบกัน ลูกค้าจึงมีโอกาสเปลี่ยนใจไปซื้อแบรนด์หรือร้านค้าอื่น
ที่สำคัญ ยังมีปัญหาการอัดโปรโมชันราคาถูก มีร้านค้าจากต่างประเทศเข้ามาตัดราคาโดยตรง ลูกค้าและแบรนด์ไม่มีการสร้างความสัมพันธ์กัน รวมถึงต้องเสียค่าธรรมเนียมร้านค้า (GP) ซึ่งเก็บเพิ่มขึ้นทุกปีอีกด้วย
ขณะที่แม้ Social Commerce หรือการซื้อขายบนโซเชียลมีเดีย จะมีข้อดีตรงที่มีโอกาสสร้างตัวตนหรือคาแรคเตอร์เพื่อให้ลูกค้าจำร้านได้ สามารถสร้างคอนเทนต์ได้ และติดต่อร้านค้าได้โดยตรง แต่ทว่ากลับไม่มีเครื่องมือสนับสนุนร้านค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีระบบหลังบ้านที่ดี หรือถ้าต้องการใช้ระบบก็ต้องเสียเงินเพิ่ม หรือต้องเพิ่มระบบหลังบ้านเอง มากกว่านั้น อัลกอริทึม (Algorithm) ที่เปลี่ยนบ่อยๆ ย่อมทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ แม้ลูกค้าจะติดตามเพจแล้วก็มีโอกาสไม่เห็นโพสต์ การยิงโฆษณาจึงต้องใช้เงินแบบหว่านมากขึ้น
LINE SHOPPING เข้าใจปัญหาเหล่านี้ได้ดี จึงได้ปลดล็อคข้อจำกัดเดิมๆ ของนักขายออนไลน์ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่ รายกลาง หรือรายย่อยที่มีข้อจำกัดในเรื่องความพร้อมและงบประมาณ ให้สามารถแข่งขันบนสนามธุรกิจการค้าออนไลน์ได้ ด้วยการเปิดให้ร้านค้าสมัครใช้งานฟรี ไม่มีการเก็บ GP หรือค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ด้วยความเข้าใจร้านค้าออนไลน์ไทย LINE SHOPPING จึงสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่ง่ายและสะดวกสบาย ลูกค้าสามารถแชทพูดคุยสอบถามรายละเอียดกับร้านค้าได้โดยตรง เสมือนไปช้อปที่หน้าร้าน เรียกว่าแชทซื้อขายครบจบในที่เดียวโดยไม่ต้องเข้าผ่านหลายแอปให้ยุ่งยาก นับว่าเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างนักช้อปกับผู้ขาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจในระยะยาว รวมถึงสามารถเก็บ data หลังบ้านได้เอง เพื่อนำไปวางแผนการตลาดหรือการทำธุรกิจต่อไป
โดย LINE SHOPPING มีจุดเด่นข้อดีต่างๆที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้