จากสภาวะโลกร้อน กำลังจะทำให้อาหารทะเลกว่า 90% บนโลกหายไป ด้วยเหตุนี้ Nippon Ham ผู้ผลิตอาหารญี่ปุ่นรายใหญ่ จึงเป็นรายแรกที่เข้าสู่ตลาด Plant-Based Seafood เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
เพื่อปลดล็อกงานวิจัยที่มักกองอยู่บนหิ้ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำผลงานวิจัยกว่า 300 ผลงาน ตอบรับเทรนด์การค้าโลกทั้ง การแพทย์และสุขภาพ เกษตรและอาหารมูลค่าสูง และ Net Zero Emissions
เร็วๆ นี้ สหรัฐฯ ได้อนุญาตให้ 2 บริษัทสามารถขายผลิตภัณฑ์ไก่ที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บได้แล้ว นับเป็นประเทศที่สองต่อจากสิงคโปร์ หรือ นี่คือ สัญญาณของธุรกิจเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง อาจมาทดแทนการทำธุรกิจฟาร์มสัตว์หรือไม่?
บริษัท เจริญอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ CH หนึ่งในผู้นำที่อยู่ในแวดวงธุรกิจอาหารมานานกว่า 98 ปี แต่องค์กรมีความทันยุคทันสมัยตลอดเวลา ส่งขนมสุขภาพแบรนด์น้องใหม่อย่าง “Bangkok Tasty by CH” เข้าสู่ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ต่อจากแพลนต์เบสเจอร์กี้ แบรนด์ Meble
บ้านโป่งทาปิโอก้า” โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังอายุกว่า 50 ปี ที่พลิกตัวเอง โดยปรับ Mindset จากผู้ผลิตแป้ง มาเป็น Food Texture Solution ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตแป้งนวัตกรรมต่างๆ เปลี่ยนธุรกิจให้เติบโตเป็นหลักพันล้านบาทได้
ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ประเมินว่าในปี 2567 ตลาดแพลนต์เบสประเทศไทยจะอยู่ที่ 45,000 ล้านบาทหรือโตเฉลี่ยที่ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ทำให้มีผู้เล่นมากมายที่หันมาสนใจตลาดนี้โดยเฉพาะธุรกิจรายใหญ่ที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือและกำลังทุน นี่คือ 2 วิธีที่จะพา SME ที่อยากตีตลาดหมื่นล้านนี้โดยไม่ต้องเสียเปรียบผู้เล่นรายใหญ่
หนึ่งในทักษะที่ดีที่เจ้าของธุรกิจควรมีคือ ทักษะการขาย เพราะมันจะช่วยทำให้คุณมียอดขายได้แตกต่างจากคู่แข่งแม้สินค้าเหมือนกัน และนี่คือ 6 วิธีขายสินค้า ใครๆ ก็ต้องซื้อ
มีผลการศึกษาใหม่ชี้ให้เห็นว่าเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการนั้นทำลายสภาพอากาศกว่าเนื้อวัวจริงถึง 25 เท่า!
เจาะเทคนิค ดลชัย บุณยะรัตเวช พลิกมรดกกว่าร้อยปี “บ้านยาหอม” สู่ธุรกิจร่วมสมัย สูตรที่ SME นำไปใช้ได้
บ้านไม้สักเก่าอายุกว่าร้อยปี แถมปิดร้างมานานกว่า 20 ปี ได้รับการพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ภายใต้ชื่อ “บ้านยาหอม” โดยฝีมือของ ดลชัย บุณยะรัตเวช ทายาทของตระกูลรุ่นที่ 5
จากรายงานของ The New York Times กล่าวว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายคนในสหรัฐอเมริกากำลังเลิกให้อาหารเม็ดหรืออาหารแห้งแก่สัตว์เลี้ยงแล้ว และพยายามคัดสรรเกรดอาหารให้ใกล้เคียงกับอาหารของมนุษย์มากขึ้น แม้จะมีราคาแพงกว่า แต่ก็ยอมจ่าย เพราะเชื่อว่าดีต่อสุขภาพมากกว่าอาหารแบบดั้งเดิม
เจตนาที่ต้องการช่วยเกษตรขายข้าวได้กิโลกรัมละไม่กี่บาท กลายเป็นการจุดประกายให้ ณภัทร อินทรเสน และ ฐิตารีย์ ทวาสินฐิติทัช สองสามีภรรยาหันมาทำธุรกิจเดลิเวอรี ผ่านไปเพียงสองปี กิจการที่คิดว่าทำฆ่าเวลา สามารถทำรายได้ถึงเป้า 5 แสนติดกัน 3 เดือน สู่การเปิดหน้าร้านที่เมืองทองธานีที่ยังคงไปได้ดี
จากข่าวที่ Influencer บางคนถูกวิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่การขอกินฟรี บ้างก็อวยเกินยศ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้เกิดกระแส De-Influencing ขึ้นมา รีวิวแบบตรงๆ ไม่ป้ายยา เทรนด์นี้ส่งผลกระทบต่อ SME อย่างไรไปหาคำตอบกัน